ก่อนเริ่มวันทำงาน เรามักตั้งใจไว้ว่าวันนี้จะทำงานอะไรบ้าง แต่พอลงมือทำจริง เดี๋ยวก็มีโทรศัพท์มา e-mail ก็เด้งขึ้นมา ไม่ก็แว่บไปเช็ค facebook หน่อย พอพิมพ์งานไปได้ 3 บรรทัด ก็อดไม่ได้ที่จะเปิด pantip มาดูว่าเรื่องไรกำลังมา …
สรุปสุดท้าย ทำงานไปได้หน่อยก็หมดวันซะแล้ว พอหอบงานกลับไปทำที่บ้าน อาการเดิมก็ตามมาอีก…
จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีสมาธิ ไม่วอกแวก ทำงานเสร็จเร็ว …. สบาย….
ลองมาอ่านหนังสือเล่มนี้กันค่ะ… หากทำตามได้รับรองปัญหาข้างบนหมดไปแน่นอน…
ชื่อหนังสือ: Deep Work – Rules for focused success in a distracted world
ผู้เขียน: Cal Newport
Deep Work คือ อะไร ทำงานแบบ Deep? หรือว่าอะไร?
ผู้เขียนให้คำจำกัดความไว้ว่า Deep work คือ ภาวะที่เราทำงานแล้วมีสมาธิมากๆ จดจ่อกับสิ่งตรงหน้า สมองอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะคิดแล้วไหลไปกับงานได้
ขณะที่งานซึ่งตรงกันข้าม คือ Shallow work เป็นงานที่ไม่ต้องใช้สมองมากนัก มีผลกระทบน้อย แต่เป็นสิ่งที่เข้ามาขัดจังหวะเป็นพักๆ เช่น รับโทรศัพท์ ส่ง e-mail เป็นต้น
หากดูจากคำจัดกัดความข้างต้น จะเห็นว่าช่วงเวลาจริงๆ ที่จะทำให้เราทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิผล คือ ช่วงเวลาที่เราทำงานในภาวะ Deep Work
คำถาม คือ แล้วเราจะทำให้เกิดภาวะนั้นได้อย่างไร? ลองมาดูกันค่ะ
ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ส่วนหลัก คือ The Idea ในส่วนที่หนึ่ง กับ The Rule ในส่วนที่สอง โดยเนื้อหาส่วนแรกจะเน้นเรื่องเล่าและการจูงใจเราว่าการทำงานแบบ Deep Work นั้นดียังไง ส่วนที่สอง จะเป็นแก่นหลักของหนังสือที่พูดถึงกฎ 4 ข้อ ที่จะช่วยเราไปสู่ Deep Work ประกอบด้วย
- Work deeply
- Embrace boredom
- Quit social media
- Drain the shallow
โดยเนื้อหาหลักๆ จะอยู่ในกฎข้อที่ 1 คือ Work Deeply
ผู้เขียนบอกว่ารูปแบบในการนำ Deep work มาใช้นั้นมีอยู่ 4 แบบ และแต่ละคนก็ต้องหากันเองว่าตัวเองเหมาะกับแบบไหน
- Monastic หายไปทีหลายๆ เดือน ไปอยู่ในที่ที่จะทำ deep work ได้ – ปลีกวิเวกแบบยาวๆ
- Biomodal แบ่งเวลาอาจจะ 2-3 วัน ใน 1 สัปดาห์ เพื่อสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work
- Rhythmic ใช้เวลาเดิม ในทุกวัน เพื่อสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work โดยหัวใจสำคัญ คือ ความสม่ำเสมอ
- Journalistic เป็นพวกที่สามารถแบ่งสมาธิได้ดี คือสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work ได้ในช่วงเวลาว่างแล้วแต่จะมีเวลา
ในการจะทำให้ Deep work เป็นนิสัย หรือ เข้าถึงได้เร็ว สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้ คือ การสร้างพิธีกรรม (make it ritual) เหมือนเป็นการให้สัญญาณกับสมองว่าจะเริ่มแล้วนะ ในการสร้างพิธีกรรมนี้ เราอาจใช้คำถาม 3 ข้อ ในการช่วยคิดได้ คือ
- Where you will work and for how long? สถานที่พิเศษ (หรือแค่ปิดประตูห้อง)
- How you will work once you start to work? เช่น ไม่มีการใช้อินเตอร์เน็ตในช่วงนี้ หรือจะแปลให้ได้ 4 slide ในทุก 10 นาที
- How you will support your work? เช่น เริ่มต้นด้วยกาแฟสักแก้ว (ทำให้สมองผ่อนคลายและเตรียมเข้าสู่ภาวะ deep work)
แต่ที่พูดมาทั้งหมดนั้น เรารู้แค่ว่าเราต้องทำอะไร แต่เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ การแนะนำว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งผู้เขียนใช้วิธีที่ดัดแปลงมาจาก The 4 Disciplines of Execution มาใช้ ในการทำให้เกิดการทำงานในภาวะ Deep Work อย่างแท้จริงและยั่งยืน ประกอบด้วย
- Focus on the wildly important เลือกสิ่งที่สำคัญจริงๆ มาทำ
- Act on the lead measures -> lag measure เป็นตัววัดสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 1 เล่ม เมื่อมา review ก็แก้ไรไม่ได้ lead measure เป็นตัววัดสิ่งที่กำลังทำ เช่น จำนวนชั่วโมงที่จะอ่านหนังสือแบบ deep work
- Keep a compelling scoreboard การสร้าง chain บนปฏิทิน โดยกากากบาทลงบนวันที่ที่เราทำงานแบบ Deep Work ก็เป็นเทคนิคที่ดี ถ้าเราทำต่อๆ กันไป ก็จะกลายเป็นรูป “โซ่” อยู่บนปฏิทิน สิ่งที่เราต้องทำ คือ อย่าทำให้โซ่ขาด นอกจากนี้สิ่งที่อยู่บน scoreboard (ตัวชี้วัดที่เขียนไว้ให้เห็นชัดเจน) ควรเป็น lead measure
- Create a cadence of accountability การรีวิวผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่อง
สำหรับเนื้อหาของกฎข้อที่ 2 ก็น่าสนใจ เพราะพูดถึงวิธีการจัดการกับสิ่งที่เข้ามาขัดจังหวะการทำงานของเรา หรือสิ่งเย้ายวนใจให้เราไปทำ (มากกว่าทำงาน) วิธีที่ผู้เขียนแนะนำให้ทำ คือ
Don’t take breaks from distraction. Instead take breaks from focus. เราต้องอดทนต่อสิ่งล่อใจ เช่น เช็ค fb เวลารอนู่นรอนี่ เพื่อลดการติด distraction ต้องทนที่จะเบื่อได้
สำหรับกฎข้อ 3 และ 4 โดยส่วนตัว เราว่าจะเริ่มวนๆ และซ้ำกับ 2 กฎแรก เลยไม่ได้สรุปไว้
ความเห็นส่วนตัว
โดยรวมชอบหนังสือเล่มนี้นะคะ อ่านสนุกดี ผู้เขียนเล่าเรื่องเก่งมาก หากตัดเรื่องเล่าออกอาจเหลือเนื้อหาแค่ 20% แต่เรื่องเล่าพวกนี้ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนพูดได้ดีขึ้น (แต่ก็ยังคงคิดว่าน่าจะตัดออกไปบ้าง)
ใช้แล้วได้ผลมั๊ย?
เราลองใช้มาประมาณอาทิตย์นึง เห็นผลค่อนข้างชัดนะคะ มีสมาธิมากขึ้น ทำงานเสร็จได้เยอะขึ้น จังหวะในการคิดและการทำงานไหลลื่นขึ้น
หากให้แนะนำ… น่าลองหามาอ่านค่ะ หากไม่อ่านทั้งเล่ม ก็อาจอ่านเป็นพวก Summary ก็ได้ค่ะ