แค่อ่านนิยายสืบสวน เราก็สามารถเรียนรู้เคล็ดลับการทำงานแบบเทพๆ ได้

…. แค่เขียนออกมา ยังรู้สึกเหมือนเพี้ยนไปแล้ว ….

แต่มันเป็นเรื่องจริงค่ะ …

หากใครเป็นแฟนนิยายแนวสืบสวน คงเคยได้ยินชื่อ คินดะอิจิยอดนักสืบ นิยายแนวสืบสวนชื่อดังจากญี่ปุ่น แต่งโดย โยคิมิโซะ เซซิ (ตีพิมพ์คดีแรกตั้งแต่ปี 2479) มาบ้าง นักสืบของเรา นาย คินดะอิจิ โคสุเกะ นั้นมีสภาพดูไม่จืด ตัวเล็ก ผมกระเซิง (เวลาเการังแคจะกระเด็นออกมา น่าสยดสยอง) แต่งกายชุดเดิมๆ (กางเกงฮากามะ) และพูดติดอ่าง ถึงจะ lookไม่ได้ แต่คินดะอิจินั้นสืบคดีเก่งมากเข้าขั้นอัจฉริยะเลยทีเดียว แล้วเมื่อเราลองอ่านไปซักหลายๆ คดี เราจะพบว่าคินดะอิจิมีทักษะการทำงานขั้นเทพที่ทุกคนควรมี นั่นคือ สุจิปุลิ นั่นเอง (อ้า… back to basic)

ส่วนใหญ่แล้ว คินดะอิจิจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมฟังการสืบพยานกับตำรวจด้วย เราจะเห็นว่าคินดะอิจิจะนั่งฟังพยาน (มีผู้ร้ายปนอยู่ด้วย) เล่าเรื่องราวให้ฟัง ฟังแบบตั้งใจ [ทักษะที่ 1คือ สุ หรือ การฟัง] พร้อมทั้งคิดและคิด [ทักษะที่2คือ จิ หรือ การคิด] บางครั้งเขาจะช่วยตำรวจถามถึงประเด็นสำคัญ หรือประเด็นที่อาจดูไม่สำคัญในตอนแรก แต่ช่วยร้อยเรียงภาพที่เขาคิดไว้ [ทักษะที่ 3 ปุ หรือ การถาม]แล้วจึงจดบันทึกส่วนที่สำคัญ [ทักษะที่4คือ ลิ หรือ การเขียน]

คินดะอิจิใช้ทักษะทั้ง 4 ในการไขคดีมากมาย ว่าแต่มันมีเคล็ดลับอะไรซ่อนอยู่บ้าง

  • ฟัง ไม่ใช่แค่ “ได้ยิน”เป็นทักษะที่ต้องใช้ หู และใจ (สมาธิ) ไปพร้อมๆ กัน
  • คิด คินดะอิจิมักใช้วิธีการคิดแบบ Scenario Analysis ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากอะไร และส่งผลอะไรบ้าง นอกจากนี้เขายังใช้ทั้งการคิดแบบเป็นระบบ และการคิดแบบ creative thinking ไปพร้อมๆ กัน บางสถานการณ์แบบว่าสร้างสรรค์สุดๆ คิดออกมาได้ยังไงกัน
  • ถาม คนที่ถามได้อย่างฉลาดจะสะท้อนถึงความคิดที่เฉียบคม คินดะอิจิมักถามคำถามปลายเปิด เพื่อให้พยานอธิบายเพิ่ม เขาถามคำถามที่ชี้ไปถึงบริบท (Context) ของเหตุการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักจะละเลย เพราะบริบทเปลี่ยนการกระทำ (Action) ก็ต่างกันไป
  • เขียน ในบันทึกของคินดะอิจิที่ส่งให้นักเขียน สะท้อนว่าเขาเป็นคนจดบันทึกได้ดีมากคนนึง ทั้งในส่วนของลำดับเหตุการณ์ การอธิบายเพิ่มในส่วนที่น่าสงสัย หรือแม้แต่ในบันทึกระหว่างไขคดี เขามักจะเขียนคำถามต่างๆ ที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่

เห็นมั๊ยคะว่าคินดะอิจิไขคดีเหมือนที่เราไขปริศนาในงานของเราเลย ไม่ว่าจะทำรายงานส่งเจ้านาย (ฟังบรีฟ คิดว่าจะเอาไงดี ถามให้กระจ่างขึ้น เขียนรายงานออกมา) หรือวิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาด (ฟัง/อ่านข้อมูล คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถามว่าขาดอะไรตรงไหน เขียนรายงานออกมา)

ข้อแนะนำสุดท้ายค่ะ ลองหามาอ่านนะคะ นิยายชุดนี้มีเสน่ห์จริงๆ นอกจากคุณจะตื่นเต้นและลุ้นไปพร้อมกับคินดะอิจิแล้ว อาจารย์โยคิมิโซะแกบรรยายญี่ปุ่นหลังสงครามซะเราเห็นภาพและอินไปกับแกเลยค่ะ…

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
3 สิ่งควรทำ ไว้สู้ Office Syndrome
แนะนำ SlideShare แหล่งรวมสไลด์และความรู้