คุณเคยฝันกลางวันบ้างหรือเปล่า?

คุณเคยคิดนู่น คิดนี่ คิดเป็นตุเป็นตะ นึกวาดภาพอยู่ในหัว นั่งเคลิ้มอยู่คนเดียวหรือเปล่า?

ย้อนเวลากลับไปอีกนิด...

คุณเคยใช้เวลาเป็นวันๆ นั่งต่อ Lego แล้วนั่งเล่นพึมพำอยู่คนเดียว (หรือกับพี่น้อง) หรือเปล่า?

คุณเคยวาดสัตว์ประหลาดหน้าตาแปลกๆ หรือเปล่า?

คุณเคยวาดการ์ตูนของคุณเองมั๊ย?

แล้วตอนนี้หละ... คุณยังทำสิ่งหล่านี้อยู่หรือเปล่า?

More...

หากคุณตอบว่าใช่... คุณเป็นคนส่วนน้อยมาก ขอแสดงความยินดีที่เด็กคนนั้นในตัวคุณยังอยู่อย่างร่าเริง

แต่คำตอบของคนส่วนใหญ่ คง "ไม่ใช่" ซะมากกว่า 

สังคมบอกให้เราโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ ทำงานหาเงิน พร้อมกับให้เก็บเด็กน้อยในตัวเราเข้ากรุไป

เป็นเรื่องจริงที่เราต้องทำงานเลี้ยงชีพ แต่เราก็สามารถอยู่ร่วมกับเด็กคนนั้นได้อย่างมีความสุข ที่สำคัญเด็กคนนั้นเขาเก่งกว่าเราที่เป็นผู้ใหญ่มากๆ ในเรื่องของการสร้างจินตนาการที่มันแหวกแนวซะเหลือเกิน 

แล้วด้วยจินตนาการนั่นแหละค่ะ จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่ใครๆ พูดถึงและอยากมี...

และแน่นอน หากเราอยากทำงานให้โดดเด่นกว่าคนอื่น (รวมทั้งการนำเสนอด้วย) Creativity คือ กุญแจสำคัญค่ะ ในเมื่อทุกคนถูกหลอมออกมาจากเบ้าเดียวกันหมด (ที่โรงเรียนและสังคมกำหนดมา) ทุกคนจะให้คำตอบในเรื่องเดียวกันเหมือนกัน แต่ถ้าเรามีคำตอบที่สร้างสรรค์กว่า สายตาก็จะจับจ้องมาทางเราอย่างแน่นอน

หลายคนคิดว่าตัวเองไม่ใช่คนมีหัวคิดสร้างสรรค์ (อิงก็เคยคิดแบบนี้) แต่ความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือนทักษะอื่นๆ ที่ฝึกกันได้ เปิดตา เปิดหู และที่สำคัญเปิดใจให้กว้างขึ้นเท่านั้นเอง

โพสต์นี้อิงอยากเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านมาร่วมค้นหาเด็กคนนั้นที่ถูกเก็บ... จนหายไป...  แล้วรับเขากลับมาอยู่ร่วมกับเรา มาร่วมค้นหาผ่านคลิปวิดีโอสั้นๆ เรื่อง Alike (โดย Daniel Martinez และ Rafa Cano Mendez) ที่เป็นแรงบันดาลใจของโพสต์นี้กันค่ะ หนังสั้นเรื่องนี้เล่าถึงระบบการศึกษาและการทำงานที่ค่อยๆ ปิดกั้น Creativity ของเรา ผ่านการมองชีวิตของพ่อตัวสีฟ้าและลูกตัวสีส้มคู่หนึ่ง ที่สะท้อนภาพว่าจินตนาการหายไปจากเด็กๆ ได้อย่างไร และหากเราอยากได้สิ่งเหล่านั้นกลับมาต้องทำอย่างไร? เป็นหนังที่ใช้สีในการสะท้อนสิ่งที่มีและการหายไปได้อย่างฉลาดมาก และเป็น 7 นาทีกว่า ที่ผ่านไปเร็วมากค่ะ...

ดูแล้วชอบตรงไหนมาแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
3 สิ่งควรทำ ไว้สู้ Office Syndrome
แนะนำ SlideShare แหล่งรวมสไลด์และความรู้