July 2, 2019

ต้อนรับครึ่งปีหลัง ด้วยซีรี่ส์ใหม่ค่ะ... 

"Slide MakeOVer"

เราเริ่มจากตัวอย่างง่ายๆ ก่อน

มาวิเคราะห์สไลด์และลองปรับเปลี่ยนหน้าตาไปด้วยกันค่ะ

(แนะนำให้ลองหยิบกระดาษมาจดสิ่งที่เราเห็นว่าน่าจะปรับปรุงได้ในสไลด์นี้ ก่อนที่จะอ่านต่อค่ะ)

More...

ที่มาของสไลด์

สไลด์ต้นฉบับถ่ายมาจากงานประชุมนึงค่ะ ผู้นำเสนอเป็นชาวต่างชาติเล่าถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องของการประหยัดพลังงานในโรงงานของเขา โดยสไลด์นี้เป็นสไลด์ต้นๆ ที่พูดถึงความมุ่งมั่นของโรงงานในการดำเนินการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงาน สุขอนามัย และความปลอดภัย ผ่านทางนโยบายที่ผนวกรวมเรื่องเหล่านี้ไว้

สไลด์นี้ทุกๆ องค์ประกอบของสไลด์ปรากฏขึ้นมาบนจอพร้อมกันทั้งหมด

วิเคราะห์สไลด์เดิม (รูป A)

  1. สิ่งแรกที่ดึงดูดสายตา คือ ไอคอนผสมกับ Clip arts ที่หลากหลายและหลากสี รวมถึงรูปหมวก Safety ที่ดูไม่เข้ากับเพื่อนๆ ทำให้สไลด์ขาดความสม่ำเสมอ (Consistency) ในการเลือกใช้กราฟฟิกประกอบ ซึ่งทำให้สไลด์นี้ขาดความเป็นมืออาชีพตามไปด้วย หรือพูดแบบบ้านๆ ว่าไม่โปรนั่นเอง
  2. ตัวเลขกับกราฟฟิกที่อยู่ด้านหน้าเป็นความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น หากผู้นำเสนอให้ความสำคัญกับตัวเลขก็ไม่ควรมีรูปกราฟฟิกที่อยู่ข้างหน้า หรือหากอยากใช้รูปกราฟฟิกก็ไม่จำเป็นต้องมีตัวเลข เพราะมีเพียง 6 ข้อ ไม่ได้มากมายจนถึงต้องใช้ตัวเลขกำกับ นอกหรือหากจะบอกว่าตัวเลขใช้เป็นการบอกลำดับความสำคัญ ก็อาจจะไม่จำเป็นอยู่ดี เพราะโดยลำดับการเรียงก็เป็นการบอกความสำคัญอยู่แล้ว
  3.  รูปแบบการวาง Box (กราฟฟิก ตัวเลข และตัวหนังสือ) เป็นการไล่ลำดับจากด้านบนลงด้านล่าง โดยแต่ละบรรทัด จะต้องไล่จากดูรูปกราฟฟิก่อน มาที่ตัวเลข แล้วจึงเป็นตัวหนังสือ การกวาดสายตามันไม่ลื่นไหล เพราะสมองต้องแปลความแต่ละส่วนเป็นหย่อมๆ ไป นอกจากนี้การที่เนื้อหาทั้งหมดของสไลด์ปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน ยิ่งทำให้ผู้ฟังต้องใช้พลังงานในการทำความเข้าใจเนื้อหาสูงขึ้น (และมีแนวโน้มที่จะอ่านสไลด์มากกว่าที่จะฟังผู้นำเสนอพูด)

MakeOVer (รูป B)

สิ่งที่อิงทำประกอบด้วย

  • เลือกใช้ icons เพียงอย่างเดียว (ไม่ใช้ Clipart และรูป) โดยเลือก icons ที่สื่อความหมายใกล้เคียงกับที่เนื้อหาที่บรรยายไว้ในแต่ละหัวข้อ
  • ใช้สีของ icons ให้เหมือนกับสีของ Background ของหัวเรื่อง (Title Box) เพียงสีเดียว
  • ตัดตัวเลขออก
  • จัดวาง layout ใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 แถวๆ ละ 3 หัวข้อ เพื่อไม่ให้ผู้ฟังต้องกวาดสายตาไปจนสุดความยาวสไลด์
  • ใส่ Animation ให้นโยบายแต่ละข้อแสดงขึ้นมาเมื่อผู้นำเสนอคลิกเล่น Animation

คราวนี้เรามาลองเปรียบเทียบสไลด์เดิมกับสไลด์ใหม่ ในรูป C ค่ะ เห็นความแตกต่างมั๊ยคะ

ลองสร้าง Slide ในแบบของคุณ

แต่ละคนก็มีสไตล์ที่ชอบไม่เหมือนกัน อิงขอเชิญชวนให้ผู้อ่านลอง MakeOVer สไลด์ตัวอย่างในแบบของคุณ เป็นการฝึกออกแบบสไลด์ไปในตัวค่ะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ