มาค่ะมา

มาดู TEDx Talk กันดีกว่า

คลิปนี้มาจากงาน TEDx StockholmSalon ค่ะ หัวข้อน่าสนใจมาก "How to avoid death By PowerPoint" โดย David JP Phillips แปลเป็นไทยว่า ทำอย่างไรถึงจะหลีกเลี่ยงจากการตายโดย PowerPoint ได้ (การตายในที่นี้น่าจะเป็นอาการที่ผู้ฟังถอดจิตออกไป เหลือแต่ร่างไร้วิญญาณ เวลาฟังการนำเสนอ)

มาดูสรุปคร่าวๆ ว่า เนื้อหามีอะไรบ้าง

More...

ก่อนอื่นเลย คลิปฉบับเต็มประมาณ 20 นาที (link จ้า) ดูได้ด้านล่างค่ะ

คุณ David เปิดเรื่องด้วยคำถาม...

คนเราทนได้ยังไงกับการนั่งอยู่ในห้องประชุม จ้องสไลด์ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือและกราฟฟิกเลอะๆ แล้วก็สติหลุดไป 5-6 นาที พอรู้ตัวก็กลับมาจ้องสไลด์ใหม่ แล้วก็สติหลุดไปอีก จนประชุมเสร็จก็ลุกออกไป... ทั้งเสียเวลาและเสียสมอง

เป็นคำถามเปิดที่สะท้อนเรื่องจริง (ที่เป็นกันทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะที่ไทยเรา) ได้อย่างเห็นภาพ

แต่ที่แสบกว่า คือ เรื่องต่อจากนั้น ที่คนๆ นั้นกลับมาถึงโต๊ะทำงาน ก็นึกได้ว่าต้องนำเสนองานพรุ่งนี้ อา... นี่เขาต้องทำ PowerPoint นี่หน่า.. 

คุณว่าจะเกิดอะไรขึ้น? Revenge?

หลังจากยกตัวอย่าง PowerPoint ที่คุณ David ว่า "แย่" ในความคิดของแกแล้ว ก็มาถึง Highlight ของคลิปนี้ หลักการออกแบบ 5 ประการ ที่ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอาการ Death by PowerPoint ได้แก่

  1. Bring 1 message per slide
  2. เข้าใจข้อจำกัดของ working memory ของคนเรา ที่ Focus ได้ทีละอย่าง หากผู้ฟังเอาแต่อ่านสไลด์ สิ่งที่ผู้นำเสนอพูดหรือเล่าก็จะเข้าหูแต่ไม่เข้าสมองของผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเราในฐานะผู้นำเสนอควรออกแบบสไลด์อย่างไรจึงจะ memory-friendly ได้ (ไปฟังเฉลยได้ในคลิปค่ะ)
  3. Size (ใหญ่) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการดึงดูดสายตา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสุดในสไลด์ควรมีขนาดใหญ่สุด
  4. Contrast เป็นสิ่งที่ควบคุมว่าผู้ฟังควร Focus ตรงไหน
  5. Object เราควรมีกี่ object ใน 1 สไลด์ (เป็นคำถามที่ดี และเป็นแนวคิดที่น่าสนใจที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง - เฉลยอยู่ในคลิปค่ะ)

สรุปโดยรวม หากมีเวลาควรลองฟังฉบับเต็ม ความยาวประมาณ 20 นาที เนื้อหาน่าสนใจ (แถมตลกอีกต่างหาก) มีไอเดียหลายอันที่หยิบไปใช้ได้ทันที ลองฟังกันดูค่ะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ