หลายครั้งที่อิงฟังการนำเสนอแล้วเห็นสไลด์ที่มันดูน่าเบื่อ ทั้งตัวหนังสือแน่นๆ bullet points รัวๆ แถมเนื้อหาก็แห้งแล้งเหมือนอ่าน Text Book สมัยเรียน ป.ตรี

โอ... ชีวิตคนฟังอย่างเรามันช่างโหดร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ

แต่สิ่งที่น่าตกใจกว่า คือ คนฟังหลายคนพอต้องไปทำสไลด์บ้าง... ก็เลือกที่จะส่งต่อความโหดร้ายของสไลด์ที่ดูน่าเบื่อให้กับคนฟังชุดต่อไป...

(แอบปาดน้ำตาแป๊บ)

ว่าแต่... คุณเป็นแบบนั้นหรือเปล่า?

อ๊ะ... อะไรนะ...

สไลด์ที่ดูน่าเบื่อมันเป็นแบบไหนงั้นเหรอ?

อา... บางครั้งเราก็ไม่รู้... เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ผิด (ยิ้มกว้างค่ะ) 

งั้นมาลองเช็คกันซักนิดค่ะ ว่าสไลด์ของเราน่าเบื่อหรือเปล่า

More...

จากประสบการณ์ หากดูสไลด์เราแล้วเจอสัญญาณเตือนข้อใดข้อนึงในหลายๆ สไลด์ หรือเจอมากกว่า 1 ข้อ มีแนวโน้มว่าสไลด์เราค่อนข้างน่าเบื่อค่ะ 

#1 เต็มไปด้วย bullet point

Default ของโปรแกรม PowerPoint คือ Bullet Point สไลด์ส่วนมากที่เราเห็นจึงเป็นสไลด์ที่มี Bullet Point เต็มไปหมด นั่นทำให้สไลด์ Bullet Point ของเราเหมือนคนอื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งถ้าจัด layout ได้ไม่ดี ยิ่งดูน่าเบื่อหนักเลยค่ะ ตัวอย่างดังแสดงในรูป A

#2 เต็มไปด้วยประโยคยาวๆ

สไลด์นำเสนอใช้สำหรับเป็นสื่อช่วยผู้พูดในการนำเสนอ ไม่ใช่เป็นสื่อไว้สำหรับให้ผู้ฟังอ่าน สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสไลด์เต็มไปด้วยประโยคยาวๆ คือ ผู้ฟังจะเลิกฟังแล้วจะแข่งกันอ่านสไลด์ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้สไลด์เต็มไปด้วยประโยคยาวๆ คือ ผู้นำเสนอคัดลอกเนื้อหาจากรายงานมาแปะใน PowerPoint ตัวอย่างดังแสดงในรูป B 

#3 แทบไม่มีรูป/กราฟฟิกประกอบ

การนำเสนอที่ประกอบด้วยสไลด์ตัวหนังสือเป็นหลัก จะดูค่อนข้างแห้งแล้ง และหากยิ่งเป็นประโยคยาวๆ จะยิ่งแล้วใหญ่ แต่ก็มีนะคะ สไลด์ที่ใช้ประโยคหรือคำสั้นๆ ตลอดการนำเสนอโดยไม่มีรูป/กราฟฟิกประกอบเลย แต่น่าสนใจ เพราะผู้นำเสนอเล่าเรื่องได้น่าสนใจ ปัญหาก็คือ กรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมาก 

#4 สไลด์ใช้กราฟที่เป็น default ของ Excel

กราฟที่ใช้นำเสนอในสไลด์ มักทำมาจากโปรแกรม Microsoft Excel จากนั้นก็คัดลอกและนำมาแปะลงบนสไลด์ โดยปกติผู้นำเสนอมักไม่ได้ทำการปรับแต่งกราฟนั้นๆ ทำให้กราฟมีสิ่งที่รกรุงรังอยู่ ตัวหนังสือก็อาจจะเล็กเกินไป ขณะที่ตัวกราฟเองไม่ได้สะท้อนข้อความที่ต้องการสื่อ ตัวอย่างดังแสดงในรูป C

#5 สไลด์ใช้ตารางที่เต็มไปด้วยตัวเลขและตัวหนังสือตัวเล็กๆ

ตารางเป็นทางเลือกนึงในการนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลข ปัญหานึงที่ผู้นำเสนอพบ คือ ข้อมูลในตารางเยอะมาก และไม่อาจตัดใจ (หรือไม่ได้คิดถึง) เลือกบางส่วนมาแสดง ดังนั้นสิ่งที่เจอบ่อยมาก คือ ผู้นำเสนอคัดลอกตารางจากรายงาน หรือจาก Microsoft Excel แล้วนำมาแปะลงบนสไลด์ ตัวอย่างดังแสดงในรูป D

สำหรับวิธีการปรับปรุง ขอแนะนำ Cheat Sheet - Slide Design ค่ะ 

อ่านรีวิวก่อนดาวน์โหลดฟรี ได้ที่โพสต์นี้ค่ะ

https://skilldee.com/2020/review-cheat-sheet-slide-design/

คำถามชวนคิด

เมื่อดูสไลด์ที่คุณทำล่าสุด คุณพบสัญญานเตือนทั้ง 5 ข้อนี้หรือไม่

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ