คุณว่าอะไรทำให้ตารางแตกต่างจากกราฟ?
เมื่อดูกราฟที่ออกแบบมาดี เราแค่กวาดตามองก็เข้าใจทันที
แต่... สำหรับตาราง สมองเรากลับประมวลผลได้ช้ากว่ามาก...
แล้วทำไมเราถึงยังต้องใช้ตาราง
ทำไมไม่ใช้กราฟอย่างเดียว
...
เพราะ ตารางมีข้อจำกัดน้อยกว่ากราฟในการแสดงข้อมูล
และข้อมูลบางชุดเหมาะกับตารางมากกว่ากราฟ
...
ตารางไม่จำเป็นต้องดูแย่เสมอไป
เราในฐานะผู้ออกแบบตารางสามารถช่วยลดภาระของผู้ฟัง/ผู้อ่านได้
ด้วยการออกแบบตารางให้ดีขึ้น
มาเรียนรู้ Good Practices ของการออกแบบตารางในโพสต์นี้กันค่ะ
More...
ตารางสำหรับอ่าน (ในรายงาน) กับตารางสำหรับดู (ในสไลด์)
อย่างแรกที่เราต้องเข้าใจก่อน คือ โดยพื้นฐานแล้วตารางถูกออกแบบมาสำหรับการอ่าน หมายถึง เราค่อยๆ ดูไปที่หัวตาราง ว่าแต่ละคอลัมน์ประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น รายชื่อเครื่องจักรที่ใช้พลังงาน พลังงานที่ใช้ ราคาพลังงาน ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลผลิตที่ได้ ค่าการใช้พลังงาน/ผลผลิต เป็นต้น จากนั้นเราจึงค่อยดูไล่มาในแต่ละแถวว่าแต่ละรายการเครื่องจักรนั้นมีข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นกับชุดข้อมูลที่เรามีและรูปแบบความซับซ้อนของตัวข้อมูลเองด้วย
หากเป็นการนั่งอ่านรายงาน เราจะไม่มีปัญหากับการอ่านตารางเลยค่ะ เพราะมีเวลาในการพินิจพิเคราะห์ทำความเข้าใจกับชุดข้อมูล สามารถมองกลับไปกลับมาได้ตามสบาย
แต่... เมื่อตารางมาอยู่บนสไลด์นำเสนอ เราอาจไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งอ่านตาราง และชุดข้อมูลจำนวนมากก็อาจไม่เอื้อให้ตารางของเราอยู่ในสภาพที่อ่านออกได้ ทั้งตัวหนังสือและตัวเลขกลายเป็นก้อนกระจุกเล็กๆ ที่ต้องเพ่งแล้วเพ่งอีกถึงจะอ่านออก
ดังนั้นเมื่อเราเลือกที่จะใช้ตารางสำหรับสไลด์นำเสนอ ควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย
เราสามารถช่วยลดภาระของผู้ฟังด้วยการปรับแต่งชุดข้อมูลในตารางให้สื่อความตรงกับ key message ที่ต้องการนำเสนอได้ เพียงแค่เราสละเวลาสักนิด (อย่า copy ตารางสำหรับอ่านที่ใส่ไว้ในรายงานมาแปะเป็นตารางในสไลด์)
Good Practices สำหรับการออกแบบตาราง
เมื่อเราตัดและ/หรือควบรวมข้อมูลในตารางแล้ว ก็ได้เวลาประยุกต์ใช้ good practice สำหรับการออกแบบตารางแล้วค่ะ
#1 เลือกใช้ font ที่ตัวเลขอยู่ในระนาบเดียวกัน
ดังแสดงตัวอย่างในรูป A
#2 ลดเส้นแบ่งแถวและคอลัมน์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ดังแสดงตัวอย่างในรูป B
#3 หลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นของตารางที่มากเกินไป
ดังแสดงตัวอย่างในรูป C
#4 จัดแนวของหัวตารางกับข้อมูล
โดยใช้แนวทางดังนี้ หากเป็นตัวหนังสือให้ชิดซ้าย หากเป็นตัวเลขให้ชิดขวา ดังแสดงตัวอย่างในรูป D
#5 ลดรายการที่ซ้ำกัน
คำถามชวนคิด
ตารางที่คุณใช้ในสไลด์ชุดล่าสุดตัดแปะมาจากรายงานหรือเปล่า?
หากคุณต้องใช้ตารางนี้อีกในการนำเสนอครั้งหน้า คุณจะปรับปรุงตารางอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น?