ตอนที่อิงเริ่มสนใจพัฒนาทักษะการนำเสนอ เรื่องของการออกแบบสไลด์เป็นอะไรที่คาใจมาก เพราะตอนนั้นมีหนังสือแค่ไม่กี่เล่มที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตัวอย่างบนอินเตอร์เน็ตก็ไม่ค่อยมี 

แต่ตอนนี้สถานการณ์ตรงกันข้ามค่ะ ถ้าคุณอยากรู้เรื่องการออกแบบสไลด์ แค่คลิกในเน็ตก็มีให้อ่านเยอะเลยค่ะ ตัวอย่างก็หาดูได้เยอะมาก โดยเฉพาะในเว็บไซต์ที่ทำ Template ขาย

แต่... มีมากก็เป็นปัญหาอีกแบบนึงค่ะ

คือ มันเยอะซะจนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะเอามาใช้กับงานของเรายังไง บางทีเห็นแล้วก็จิตตก ว่าเราจะทำสไลด์หน้าตาอย่างนั้นได้ยังไง หรือจะซื้อ Template เอามาใช้เลยดี

นี่เลยเป็นที่มาของ Cheat Sheet - Slide Design

บางคนอาจได้เห็นและดาวน์โหลด Cheat Sheet - Slide Design ไปแล้ว แต่บางคนอาจยังเห็นว่ามันคืออะไร 

มาค่ะ มาดูรีวิวกันค่ะ

More...

เป้าหมายของ Cheat Sheet - Slide Design

  • ช่วยให้ผู้นำเสนอ รู้ good practice ของการออกแบบสไลด์ ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที
  • ช่วยปรับหน้าตาของสไลด์ให้แตกต่างจากสไลด์ Bullet Points ทั่วไป ในเวลาที่ลดลง

Disclaimer ของ Cheat Sheet - Slide Design

  • ไม่ช่วยให้คุณกลายเป็นนักออกแบบสไลด์มือฉมัง แต่ช่วยให้คุณเป็นคนทำงานที่มีพื้นฐานด้านการออกแบบสไลด์ที่ดี
  • ไม่ได้สอนเทคนิคการใช้ PowerPoint หรือเทคนิคการออกแบบขั้นแทพ แต่ช่วยให้คุณรู้ว่าในสไลด์ของคุณควรจัดวางองค์ประกอบอย่างไร ต้องระวังอะไรบ้าง
  • ไม่ได้รวบรวมเทคนิคทุกอย่างบนโลก แต่รวมเรื่องควรรู้สำหรับก้าวแรกในการออกแบบสไลด์ เพื่อให้อ่านจบในเวลาอันสั้นแล้วเริ่มใช้งานได้เลย

Cheat Sheet - Slide Design ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตัวอย่างบางส่วนในรูป A

ตัว Cheat Sheet ประกอบด้วย 12 หน้า ได้แก่

  1. 1
    บทนำ: เกริ่นที่มาที่ไป
  2. 2
    ใช้สไลด์ขนาด 4:3 หรือ 16:9 ดี?: โพสต์เรื่อง 4:3 หรือ 16:9 เลือกสไลด์ขนาดไหนดี เป็นโพสต์ของ SkillDee ที่มีคนอ่านจำนวนมาก อิงเลยเอามาสรุปสั้นๆ ไว้เป็น step แรกในการออกแบบสไลด์ค่ะ คือ เลือกขนาดที่ใช่นั่นเอง
  3. 3
    ลือกใช้ Fonts แบบไหนดี?: เมื่อได้ขนาดแล้ว Fonts ที่เหมาะสมจะช่วยให้สไลด์ของเราอ่านง่ายขึ้นและดูดี ถูกกาลเทศะขึ้นได้ เรื่อง Fonts มีหนังสือขายเป็นเล่มๆ แต่สำหรับผู้ใช้อย่างเรารู้แค่ไม่กี่อย่างนี้ก็พอค่ะ
  4. 4
    การใช้สีอย่างมีประสิทธิภาพ: เหมือนกับเรื่อง Fonts เรื่องสีก็เรียนกันเป็นเทอมๆ สำหรับผู้ออกแบบสไลด์ เบื้องต้นมีสิ่งที่สำคัญที่เราควรรู้หลายข้อ เพื่อให้เราจัดชุดสีในสไลด์ให้ดูเหมาะสมขึ้น
  5. 5
    การปรับปรุงสไลด์ที่ใช้ตัวหนังสือเป็นหลัก: เรามักคุ้นเคยกับสไลด์ที่ใช้ตัวหนังสือเป็นหลัก แต่สไลด์เหล่านั้นมักเต็มไปด้วย Bullet Points และประโยคยาวๆ ดังนั้นในหน้านี้ เราจะเน้นวิธีง่ายๆ ที่เมื่อนำไปใช้จะช่วยลดจำนวนตัวหนังสือในสไลด์ และทำให้สไลด์ตัวหนังสืออ่านง่ายขึ้นทันตาเห็นค่ะ
  6. 6
    การปรับปรุงสไลด์ที่ใช้รูปภาพเป็นหลัก: รูปภาพได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่เอารูปอะไรก็ได้มาใส่และเอาไปใส่ตรงไหนก็ได้ มีข้อแนะนำบางข้อที่เอาไปใช้ได้ไม่ยากและเห็นผลได้ง่าย ลองเอาไปใช้ดูนะคะ
  7. 7
    การปรับปรุงสไลด์ที่ใช้ไดอะแกรมเป็นหลัก: พอพูดถึงไดอะแกรมคนมักนึกถึง Smart Art อือม... ขอเก็บเอาไว้เป็น Choice ท้ายๆ อยากให้ลองคำแนะนำอื่นๆ ก่อนค่ะ
  8. 8
    การปรับปรุงสไลด์ที่ใช้ตารางเป็นหลัก: ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้ว่าข้อมูลที่เราต้องการนำเสนอเหมาะกับตารางมั๊ย แล้วค่อยมาทำให้ตารางของเราไม่น่าเบื่อ
  9. 9
    การปรับปรุงสไลด์ที่ใช้กราฟเป็นหลัก: กราฟมีหลากหลาย แต่มีหลักเบื้องต้นง่ายๆ ที่เอาไปใช้ได้กับทุกกราฟ
  10. 10
    การปรับปรุงสไลด์ที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก: อย่ามองข้ามสไลด์ที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก เช่น สไลด์ขึ้นต้น สไลด์แบ่ง section สไลด์คำถาม และสไลด์ลงท้าย หากเราออกแบบดีๆ จะช่วยให้ชุดสไลด์ของเราดูดีมีสไตล์เลย
  11. 11
    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย: เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย 6 ข้อ ที่คนมักมองข้าม
  12. 12
    แหล่งข้อมูลสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเอง: อิงเชื่อว่าทุกคนสามารถพัฒนาทักษะของตัวเองได้ทุกวัน ขอแค่อย่าหยุดเรียนรู้ หน้านี้ประกอบด้วยหนังสือ Blog ต่างๆ ที่น่าแอบไปส่องดู และแน่นอนอย่าลืมติดตาม skilldee.com ด้วยนะคะ

หากใครยังไม่ได้ดาวน์โหลด ตามลิงค์ด้านล่างไปได้เลยค่ะ

คำถามชวนคิด

คุณดาวน์โหลด Cheat Sheet - Slide Design แล้วหรือยัง?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ