ผู้ออกแบบสไลด์น่าจะคุ้นเคยกับการวางเนื้อหาในรูปแบบ list (หรือ bullet points) เป็นอย่างดี 

แต่มีการจัดวางอีกรูปแบบนึง

คือ การจัดเนื้อหาในสไลด์ตามรูปแบบตาราง

ที่ถูกนำมาใช้น้อยกว่ามาก

(หรือถูกนำมาใช้ แต่ไม่รู้ว่ามันถูกจัดวางในรูปแบบตาราง)

แล้วการจัดวางแบบนี้... มีข้อดีอย่างไร

เอาไปใช้กับเนื้อหาแบบไหนได้บ้าง

และมีคำแนะนำในการจัดวางอย่างไร

มาดูรายละเอียดกันค่ะ

More...

การจัดวางเนื้อหาในรูปแบบตารางมีหน้าตาอย่างไร?

ปกติเมื่อเราพูดถึงตาราง เรามักนึกข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลข (ตัวอย่างในรูป A) 

พอข้อมูลเราเป็นตัวหนังสือเป็นหลัก เราเลยมักมองข้ามการจัดวางเนื้อหาในรูปแบบตารางไป 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอิงไปประชุมมา เนื้อหาหนักและแน่นใช้ได้ แต่ที่ปรึกษาฉลาดในการจัดวางเนื้อหา โดยบางส่วนเอามาจัดวางในรูปตาราง  (ดังแสดงตัวอย่างในรูป B) ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ไม่ยากเลย 

จะเห็นว่าตัวอย่างในรูป B มีการจัดเนื้อหาในรูปแบบตารางค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีการจัดวางในรูปแบบตารางที่ดูเนียนๆ ไม่ค่อยรู้ว่าเป็นตารางอีก เช่นตัวอย่างในรูป C

เนื้อหาแบบไหนน่าจะเหมาะกับรูปแบบตาราง?

การจัดวางเนื้อหาแบบตาราง มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แถว และคอลัมน์ 

ดังนั้นเนื้อหาจะถูกจัดกลุ่มตาม matrix ของแถวและคอลัมน์ ผู้ฟังจะคาดหวังความเหมือนกันของเนื้อหา (กลุ่ม/ประเภทเดียวกัน) ในแต่ละแถวหรือคอลัมน์ ดังแสดงตัวอย่างในรูป D

เมื่อเรามีเนื้อหาที่เยอะ การจัดกลุ่มตามประเภทและนำมาใส่ไว้ในรูปแบบตาราง ถือเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจเลยค่ะ แต่มีข้อแม้ว่าเนื้อหานั้นๆ ควรจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ 

คำแนะนำในการใช้งาน

เพื่อให้จัดวางเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อิงมีคำแนะนำ ดังนี้ค่ะ

#1 ใช้สีเพื่อช่วยในการแบ่งกลุ่ม

ถึงแม้ว่าการใช้สีเยอะเกินไป อาจทำให้งงได้ แต่การจัดวางในรูปแบบตารางมีข้อได้เปรียบตรงที่มีการแบ่งกลุ่มตามแถวหรือคอลัมน์อยู่แล้ว ทำให้การใช้สีที่แตกต่างกันจะช่วยในการแปลความจากการกวาดตา เพื่อดูความแตกต่างของสี (ตัวอย่างในรูป E ที่มีสีเยอะแต่ไม่งง) 

แต่อย่างไรก็ตามหากมีสีจำนวนมาก ต้องลองจัดวางข้อมูลดูก่อนนะคะว่าพอไหวมั๊ย

#2 อาจพิจารณาใช้เส้นแบ่งแถว/คอลัมน์ 

ถึงเราไม่ใช้เส้นแบ่งแถว/คอลัมน์เราก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นตาราง (ย้อนกลับไปดูตัวอย่างในรูป B ได้ค่ะ) แต่ถ้าจำนวนแถว/คอลัมน์มาก การใช้เส้นแบ่งแถว/คอลัมน์จะช่วยในการกวาดตามองได้ง่ายขึ้น (ย้อนกลับไปดูตัวอย่างในรูป E)

#3 ใช้เนื้อหาที่กระชับและมีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่

ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่พอสมควร (อ่านได้ง่ายเมื่อฉายบนจอรับภาพ) เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการจัดวางในรูปแบบตาราง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วการแสดงข้อมูลในลักษณะนี้จะมีการอธิบายเนื้อหาประกอบ ทำให้ผู้ฟังอยู่กับสไลด์หน้านี้พอสมควร หากเนื้อหาเยอะก็จะทำให้ตัวหนังสือมีแนวโน้มที่จะเล็กลง (ที่ไม่พอ) ทำให้ผู้ฟังให้ความสนใจกับการนั่งอ่าน มากกว่าจะกวาดตาทำความเข้าใจและรับฟังผู้นำเสนอต่อ

คำถามชวนคิด

เนื้อหาในการนำเสนอของคุณ จะสามารถนำมาแสดงผลในรูปแบบตารางได้หรือไม่

หากคุณจะนำรูปแบบการนำเสนอแบบตารางมาใช้ คุณจะจัดกลุ่มเนื้อหาอย่างไร?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ