ตื่นเต้นจังเลย…
ยังจำความรู้สึกนั้นได้มั๊ยคะ…
ครั้งแรกๆ ที่เราต้องขึ้นไปนำเสนอ
แล้วเจ้าความตื่นเต้นนั้นก็นำมาซึ่ง…
เสียงสั่น มือสั่น
จำอะไรไม่ค่อยได้
แย่กว่านั้นอีกหน่อย คือ
นำเสนอผิดๆ ถูกๆ
…
แล้วเรามีตัวช่วยสำหรับมือใหม่หัดนำเสนอมั๊ย
…
ถึงอาการตื่นเวที
จะหลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่เราพอจะมีตัวช่วยเพื่อบรรเทาอาการอยู่บ้าง
ลองมาดูกันค่ะ
More...
ความตื่นเต้นเป็นเรื่องปกติ
ก่อนอื่น เราต้องยอมรับก่อนว่าความตื่นเต้นเป็นเรื่องปกติ สำหรับอิงไม่ว่าจะนำเสนอกี่ครั้งก็ยังรู้สึกตื่นเต้นอยู่ดีค่ะ และอิงว่าตื่นเต้นนิดๆ ดีกว่ารู้สึกเนือยๆ ด้วยซ้ำ (หากเราดูเนือยๆ ไม่ค่อยมีพลังงาน แนะนำตัวช่วยเพิ่มพลังงานในโพสต์นี้ค่ะ)
เมื่อเรายอมรับความตื่นเต้นเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ เราก็ไม่ต้องนอยด์เวลาเราตื่นเต้น และหากเราเริ่มต้นการนำเสนอได้ดี ความตื่นเต้นที่ว่าก็จะลดลงและค่อยๆ จางหายไปเองค่ะ
3 ขั้นตอน ช่วยในการเริ่มต้นที่ดี
แล้วเราจะเริ่มต้นการนำเสนอให้ดีได้ยังไง ก็เรามักตื่นเต้นจนลืมเนื้อหาในการเริ่มการนำเสนอ หรือไม่ก็มัวแต่โฟกัสว่าจะต้องเริ่มยังไงจนดูตะกุกตะกักไปหมด
ที่จริงแล้ว พอจะมีวิธีหรือตัวช่วยอยู่นะคะ อาจไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่เป็นสิ่งที่อิงทำแล้วใช้ได้ดี มี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
#1 จำช่วงเริ่มต้นของการนำเสนอให้แม่น
ช่วงเริ่มต้นของการนำเสนอเป็นช่วงวัดใจที่เราควรให้ความสำคัญมากๆ ค่ะ มาลองดูเหตุผลดีๆ ว่าทำไมถึงสำคัญกันค่ะ
แล้วช่วงแรกของการนำเสนอนั้นกี่นาที ให้บอกเป็นนาทีคงยาก แต่ถ้าคร่าวๆ คือ ประมาณ 5-10% ของเวลาที่เราคิดว่าจะใช้ในการนำเสนอทั้งหมดค่ะ
สิ่งที่เราต้องพยายามที่จะจำให้ได้ คือ ประโยคแรก/ย่อหน้าแรกที่เราเริ่มต้น ตรงนี้สำคัญมากค่ะ หากเราเริ่มต้นด้วยประโยคแรกได้ตามที่วางแผนไว้ ประโยคต่อๆ ไปจะตามมาได้ง่ายขึ้นค่ะ
#2 เลือกรูปแบบการเปิดที่เหมาะกับเนื้อหาและตัวเรา
การเปิดการนำเสนอมีหลายรูปแบบค่ะ ลองดูในโพสต์ “3 ทางเลือก เริ่มการนำเสนอให้กระตุกต่อมความอยากรู้” จุดสำคัญของเรา ณ ตอนนี้ คือ เราต้องการดึงความสนใจของผู้ฟัง ปูทางไปสู่เรื่องที่เราจะนำเสนอ และลดความตื่นเต้นไปในตัว ดังนั้นลองเลือกรูปแบบที่เหมาะกับสไตล์ของเราและเนื้อหาของเราดูค่ะ
(ส่วนตัวอิงชอบเปิดด้วยคำถามค่ะ ทั้งช่วยให้ผู้ฟังฉุกคิด ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมกับเรา และให้เวลาตัวเราเองลดความตื่นเต้นด้วยค่ะ
#3 ซ้อม
ที่จริงต้องเป็น ซ้อม ซ้อม และซ้อมอีก ค่ะ
หากอยากให้การนำเสนอออกมาดี การซ้อม คือ สิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก หากเราซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม สิ่งที่เรานำเสนอจะออกมาแบบเป็นธรรมชาติและลื่นไหล
Tips เล็กๆ ในการซ้อม คือ อย่าอ่านในใจ ให้พูดออกมาเหมือนกับว่าเรามีผู้ฟังอยู่ตรงหน้าจริงๆ จะออกท่าทางประกอบด้วยก็ยิ่งดีค่ะ
คำถามชวนคิด
เวลานำเสนอ คุณตื่นเต้นหรือไม่?
หากวันไหนคุณเริ่มต้นได้ดี ความตื่นเต้นของคุณลดลงหรือไม่?