August 24, 2021

ทำไมสไลด์ของเราไม่สวย? ทำไมสไลด์ของเราดูแล้วรกตาไปหมด? ทำไมสไลด์ของเราเกือบจะดี แต่เหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง? ทำไม…? เรื่องความสวยความงามเป็นเรื่องที่ค่อนข้างขึ้นกับแต่ละบุคคล (คนเรามองความสวยงามแตกต่างกันไป มากบ้าง น้อยบ้าง) แต่เรื่องประสิทธิภาพในการสื่อสารเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นตรงกัน ถ้าเราต้องการปรับปรุงสไลด์ให้มีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม (และสวยขึ้นด้วย) สิ่งหนึ่งที่ช่วยคุณได้ คือ เรียนรู้การใช้สีอย่างฉลาด แน่นอนว่า… การใช้สีให้เหมือนนักออกแบบมืออาชีพเป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน แต่… ในการปรับปรุงสไลด์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยการใช้สี เราทุกคนสามารถทำได้…ไม่ยากค่ะ มาดูหัวใจสำคัญในการใช้สีสำหรับการเตรียมสไลด์นำเสนอในโพสต์นี้กันค่ะ

อ่านต่อ

March 22, 2021

ช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้มีสไลด์ผ่านตาเยอะมากค่ะ ทั้งสไลด์การสัมมนา และสไลด์สำหรับการฝึกอบรม สไลด์ส่วนใหญ่มักแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  คือ กลุ่มที่เน้นหนังสือเป็นหลัก กับกลุ่มที่พยามใช้รูป/กราฟิกประกอบ แน่นอนว่าการใช้รูป/กราฟิกดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวหนังสือล้วนๆ แต่… สิ่งที่น่าตกใจ คือ สไลด์ที่มีแต่ตัวหนังสือบางครั้งกลับดูดีกว่า (และโปรกว่า) สไลด์ที่มีรูป/กราฟิก เอ๊ะ! เกิดอะไรขึ้น… ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มาค่ะ มาดูปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมแนวทางแก้ไขกันค่ะ

อ่านต่อ

March 8, 2021

เมื่อสัปดาห์ก่อนโครงการฯ ที่อิงดูแลจัดงานสัมมนา โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐ 5 หน่วยงาน มานำเสนอ ระหว่างการนำเสนอ อิงก็รู้สึกตะหงิดๆ ว่ามันมีอะไรบางอย่าง พอวันนี้มานั่งดู handout ที่แจก  ก็เจอทันทีค่ะว่าไอ้ที่ตะหงิดๆ วันนั้นมันคืออะไร 4 จาก 5 หน่วยงานมีแนวทางการทำสไลด์นำเสนอที่คล้ายกันมาก (น่าจะเป็น trend ใหม่ของหน่วยงานราชการ) คือ ตัดแปะ infographic ที่มีที่ปรึกษาทำให้ในงานต่างๆ มาใส่ในสไลด์ ถามว่า ดูดีมั๊ย…  infographic ดูดีค่ะ  แต่… พอเอา infographic นั้นมาแปะใส่สไลด์… มันดูดีไม่เท่าที่คิดไว้ (แต่ขอชื่นชมในความพยายามที่จะทำให้สไลด์นั้นน่าสนใจ) ดังนั้นหากต้องการใช้ Infographic ในสไลด์… …ต้องระวังด้วย… มาดูกันค่ะ… ว่าเราต้องระวังอะไรกันบ้าง

อ่านต่อ

December 22, 2020

เทคนิคหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายในการนำเสนอ คือ  การจำกัด key messages ไว้ไม่เกิน 3 ประเด็น แต่คำถามต่อมา คือ … เราจะรู้ได้อย่างไรว่า 3 ประเด็นของเราครอบคลุมหรือยัง? โพสต์นี้เรามารู้จัก… หลักการ Mutually Exclusive, Collectively Exhaustive (MECE) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกันและเป็นตัวช่วยชั้นเยี่ยม …ในการดูความคลอบคลุมของประเด็นต่างๆ หากใครรู้สึกว่าประเด็นต่างๆ ดูสับสน หรือเหมือนขาดอะไรไป MECE ช่วยได้ค่ะ

อ่านต่อ

December 7, 2020

สิ่งหนึ่งที่อิงว่ามันสะดุดตามาก… คือ Font ภาษาไทย และ Font ภาษาอังกฤษ …ที่จับคู่ผิด ดูแล้วไม่เข้ากันเลย แต่เชื่อมั๊ยคะว่า… ถึงมันจะสะดุดตาขนาดไหน … Font ที่ดูไม่เข้ากันเลยนั้น ก็ไม่ได้รับการแก้ไข มันถูกใช้ในงานนำเสนอ… ในใบประกาศที่ติดอยู่ในห้องทำงาน  ในกรณีหลัง เรายังพอปฏิเสธได้ว่าไม่ใช่ฝีมือเรา แต่ถ้าเป็นงานนำเสนอที่เราพูดพร้อมสไลด์นั้น (ที่ไม่เข้ากัน) คงปฏิเสธความรับผิดชอบได้ยาก ว่าแต่… คุณว่าผู้ฟังเห็นแบบนั้นแล้ว… จะมองเราเป็นมืออาชีพหรือมือใหม่เพิ่งหัดทำ PowerPoint เมื่อวานนี้

อ่านต่อ