ตื่นเต้นจังเลย… ยังจำความรู้สึกนั้นได้มั๊ยคะ… ครั้งแรกๆ ที่เราต้องขึ้นไปนำเสนอ แล้วเจ้าความตื่นเต้นนั้นก็นำมาซึ่ง… เสียงสั่น มือสั่น จำอะไรไม่ค่อยได้ แย่กว่านั้นอีกหน่อย คือ นำเสนอผิดๆ ถูกๆ … แล้วเรามีตัวช่วยสำหรับมือใหม่หัดนำเสนอมั๊ย … ถึงอาการตื่นเวที จะหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราพอจะมีตัวช่วยเพื่อบรรเทาอาการอยู่บ้าง ลองมาดูกันค่ะ
คุณว่า… ในการเตรียมการนำเสนอ ควรเริ่มต้นจากอะไร? วัตถุประสงค์ของงาน… สิ่งที่เรารู้และอยากพูด… สิ่งที่คนฟังอยากรู้… สิ่งที่ผู้จัดอยากบอก…. ถ้าให้อิงเรียงตามลำดับปกติที่ใช้ในการเตรียมตัว อิงจะเรียงอย่างนี้ค่ะ ใช้วัตถุประสงค์และสิ่งที่ผู้จัดอยากบอกเป็นกรอบของเนื้อหา และใช้สิ่งที่คนฟังอยากรู้เป็นตัวตั้งต้น เพื่อมาจับคู่กับสิ่งที่เรารู้และอยากพูด ใน 4 สิ่งข้างบน มี 3 อย่างที่เรารู้แน่นอน แต่มีอย่างนึงค่ะ ที่เราต้องค้นหา… นั่นคือ สิ่งที่คนฟังอยากรู้… มาดูวิธีเจาะลึกผู้ฟัง เพื่อหาสิ่งที่เขาอยากรู้กันค่ะ แล้ว…การเตรียมการนำเสนอของเราจะง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
เมื่อหลายปีก่อน อิงไปร่วมงานสัมมนาที่ฟิลิปปินส์ งานครึ่งวัน กำหนดการเลิกประมาณเที่ยง แต่… งานเริ่มสายเล็กน้อย แต่ยังไม่เกินเวลาไปมากนัก มาพีคเอาช่วงหลังเบรคค่ะ วิทยากรคนแรก พูดนานมาก… เกินเวลาไปเกือบ 45 นาที วิทยากรคนต่อมา พยามพูดให้สั้น แต่ก็ยังเกินเวลาไปอีกเกือบ 10 นาที ความซวยมาตกที่วิทยากรคนต่อไปค่ะ เพราะใกล้จะเที่ยงแล้ว ยังเหลือเขาและอีก 1 คน แต่… วิทยากรยังคงพูดตามเนื้อหาที่เตรียมมาอย่างชิลๆ พร้อมกับเกินเวลาไปอีกหน่อย… กว่าคนสุดท้ายจะพูดจบ… อิงหิวมากค่ะ และเชื่อว่าคนในห้องหิวมากเช่นกัน เพราะปาเข้าไปเกือบบ่ายโมงครึ่ง คำถาม คือ อิงและคนอื่นๆ ในห้องจะสนใจฟังสัมมนาหรือฟังเสียงท้องตัวเองร้องมากกว่ากัน? แล้วหากเราต้องเป็นวิทยากรคนนั้น เราจะช่วยท้องน้อยๆ ของคนในห้องได้อย่างไร? ป.ล. เพื่อนฟิลิปปินส์ของอิงพูดเก่งทุกคน เลยพออนุมานได้ว่าวิทยากรฟิลิปปินส์ที่ขึ้นพูดน่าจะพูดเก่งไม่แพ้กัน เลยลากยาวจนเกินเวลา
คุณว่าคุณนำเสนอได้ดีแค่ไหน? ว่าแต่… “ดี” ของเรา กับ “ดี” ของคนอื่น เหมือนกันหรือเปล่า? เทียบกันได้มั๊ย? แล้วที่ว่า “ดี” นั้นดีจริงหรือไม่? … อันที่จริงแล้วมีปัจจัยหลากหลายที่รวมกันเป็นคำว่า “ดี” อิงไปอ่านเจอ matrix การจำแนกการนำเสนอ (ว่าดีหรือไม่ดี) ที่น่าสนใจมาค่ะ เป็น matrix แบบ 2 x 2 ที่ใช้ปัจจัยง่ายๆ วัดผลได้ เลยเอามาแนะนำให้ลองใช้วัดผลการนำเสนอของเรากันค่ะ
ข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่ฟังแล้วแสลงหูค่ะ แต่… เหรียญอีกด้านของข้อผิดพลาด คือ โอกาสในการปรับปรุง เมื่อหลายวันก่อน อิงอ่านบทความที่น่าสนใจใน Havard Business Review เรื่อง “Five Presentation Mistakes Everyone Makes” โดย Nancy Duarte กูรูด้านการนำเสนอคนโปรดของอิง อ่านจบแล้ว โดนใจมาก เรียกว่าผ่านมาหมดแล้วทั้งที่เป็นผู้นำเสนอเองและฟังผู้นำเสนอที่ทำแบบนี้ ว่าแล้ว…เลยมาขยายความแบ่งปันกับผู้อ่านของ skill ดี กันดีกว่า