ช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ อิงไปฟังสัมมนามาหลายงาน

และมีหลายสิ่งที่น่านำมาขยายความเรียนรู้ไปด้วยกัน

ช่วงนี้เลยมีซีรี่ยส์นี้ออกมาถี่หน่อยค่ะ 

(ความจำสั้นค่ะ ต้องรีบเขียน ก่อนที่จะลืม)

ต่อๆ ไป คงเก็บมาเล่าเดือนละครั้งพอค่ะ

มาดูกันค่ะ ว่าจากสไลด์ชุดนี้

เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

More...

ข้อมูลพื้นฐานของสไลด์

  • สไลด์ชุดนี้ใช้ในงานสัมมนาเกี่ยวกับการเปิดตัวระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ผู้จัดงานได้ส่งหนังสือเชิญพร้อม QR Code เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนาได้ก่อนวันงาน (น่าจะเป็นมาตรฐานของหน่วยงานราชการบางแห่ง) ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เอกสารมาอ่านก่อน ซึ่งดีมากค่ะ (เหมือนอีกงานใน เรียนรู้จากสไลด์จริง #1)
  • จอรับภาพจาก Projector มีขนาดใหญ่มาก
  • รูปที่อิงถ่ายมาจากแถวที่ 10 จากข้างหน้า

ข้อสังเกต

คล้ายกับงานที่เล่าไว้ในโพสต์ “เรียนรู้จากสไลด์จริง #1" คือ

  • สไลด์มีเนื้อหาค่อนข้างมาก ทำให้สไลด์เหมาะกับการอ่านมากกว่าการเป็นสไลด์สำหรับนำเสนอ ข้อดีก็คือ ผู้ที่ไม่ได้ไปฟังสัมมนาเอง ก็สามารถอ่านสไลด์นี้ได้เข้าใจ ส่วนข้อเสีย คือ เนื้อหาที่แน่น ทำให้ผู้ฟังให้ความสำคัญกับการอ่านมากกว่าการฟังผู้นำเสนอพูด
  • มีความไม่ Consistency ในการออกแบบสไลด์แทรกเป็นระยะ

สิ่งที่สามารถปรับปรุงได้

ในความเห็นของอิง มีอยู่ 4 ประเด็นหลัก ที่น่าจะปรับปรุงได้ดังนี้

#1 Consistency เรื่องรูปแบบสำหรับ Title

ในสไลด์ชุดนี้ Title (ส่วนด้านบนของสไลด์ที่ใช้แสดงหัวเรื่อง) ของสไลด์มีแตกต่างกันอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ ตัวอักษรที่เป็นสีดำตัวหนาบนพื้นสีฟ้า และตัวอักษรที่เป็นดำตัวหนา (ไม่มีพื้นหลัง) ดังแสดงตัวอย่างในรูป A

ตามความเข้าใจของอิง คือ ที่ไม่พอที่จะใส่พื้นสีฟ้าในบางสไลด์ แต่ถ้าอยากจะใช้พื้นสีฟ้าก็ควรทำให้เหมือนกันทั้งหมด โดยการจัดสรรที่ให้พอ (ทำได้แน่นอนค่ะ)

#2 Consistency ในการใช้สี เพื่อสร้างความหมาย

การให้สีตรงกับความหมายพิเศษที่เราให้อย่างสอดคล้องกันทั้งชุดสไลด์จะช่วยสร้างการจดจำได้เป็นอย่างดี 

สไลด์ชุดนี้ใช้สีค่อนข้างหลากหลาย และมีการให้สีที่ไม่ consistency ดังเช่นตัวอย่างในรูป B

#3 การใช้กราฟ

ผู้นำเสนอเลือกที่จะใช้กราฟ 3D (3 มิติ) เป็นส่วนใหญ่ในการแสดงผลในชุดสไลด์นี้ เรามาลองดูภาพกันค่ะ (รูป C)

สังเกตอะไรมั๊ยคะ ในส่วนของ Cross Cutting กราฟสีฟ้ามีค่าเท่ากับ 10 แต่ดูจากกราฟน่าจะอ่านได้เกิน 10 และในส่วนของการลดก๊าซ กราฟสีฟ้าเท่ากับ 78 แต่ค่าที่อ่านได้จากกราฟเกิน 80 คำถาม คือ กราฟผิดหรือเปล่า? หรือเป็นผลมาจากกราฟ 3D (สามารถอ่านโพสต์เรื่อง "กราฟแบบ 3D - กราฟที่ไม่ควรนำมาใช้เลย" เพื่อทำความเข้าใจข้อเสียของกราฟแบบ 3D)

นอกจากนี้ เมื่อต้องฉายขึ้นจอรับภาพแล้ว ปัจจัยภายนอกทำให้กราฟหมองไปเยอะค่ะ ตัวหนังสือก็ออกจางๆ แทบอ่านไม่ออก

แต่หากคุณคิดว่ากราฟในรูป C แย่แล้ว อิงขอบอกว่ากราฟในรูป D ข้างล่างนี้ แย่กว่าอีกค่ะ

กราฟแบบ 3D ที่เรียงกันแบบ 3D ด้วยยิ่งอ่านค่ายากไปใหญ่ค่ะ ถ้าไม่มีตัวเลขกำกับ อ่านผิดแน่นอนค่ะ สังเกตอะไรมั๊ยคะ ในรูป D ไม่มีแท่งกราฟอันไหนให้ข้อมูลตรงกับตัวเลขที่กำกับไว้เลย 

#4 การใช้ตาราง

ผู้นำเสนอเลือกที่จะใช้ตารางที่ตัดมาจากรายงาน (สันนิษฐานว่าเป็นอย่างนั้นนะคะ) มาแปะลงบนสไลด์ สิ่งที่ได้ คือ ตัวอักษรตัวเล็กมาก ดังตัวอย่างในรูป E

สิ่งที่อิงคิดว่าปรับปรุงได้ คือ นำเสนอสิ่งที่สำคัญ (ในสไลด์นี้ คือ ประเภทข้อมูลที่ต้องการ) และแปะตารางเป็นตัวอย่าง (โดยลดขนาดรูปของตารางให้มีขนาดเล็กแบบอ่านไม่ออก เพื่อไม่ให้คนอ่านมัวแต่อ่าน) ดังแสดงตัวอย่างในรูป F

สรุปสิ่งที่เรียนรู้

  • Consistency เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเรื่องรูปแบบของ Title และการใช้สี
  • กราฟแบบ 3D ไม่ควรนำมาใช้เลย
  • ไม่ควรนำตารางที่มีเนื้อหาจำนวนมากจากรายงานมาแปะในสไลด์ ควรหาวิธีอื่นในการนำเสนอตารางเพื่อลดภาระของผู้ฟังในการอ่าน

คำถามชวนคิด

คุณได้เรียนรู้อะไรจากสไลด์การนำเสนอที่ไปฟังมาเมื่อครั้งที่แล้ว?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ