"อยากให้การนำเสนอของเรา...โดนใจคนฟังจัง..."

"ทำยังไงคนฟังถึงจะสนใจการนำเสนอของเรานะ..."

หากเราใส่ใจกับการนำเสนอของเรา... สิ่งเหล่านี้น่าจะเคยแว๊บเข้ามาในหัวเราบ้างตอนเตรียมการนำเสนอ

ว่าแต่... แล้วมันต้องทำยังไง

เราสู้อุตสาหะนั่งหลังขดหลังแข็งทำ PowerPoint อยู่หลายชั่วโมง... 

พิถีพิถัน เลือกรูป เรียบเรียงเนื้อหา จัดสไลด์ให้สวยงาม...

แค่นี้พอหรือเปล่า?

ยังค่ะ ยังไม่พอ... 

มันยังขาด การเล่าเรื่อง (storytelling) 

แต่ไม่ใช่แค่เล่าๆ ไปนะคะ การเล่าเรื่องก็มีเทคนิคค่ะ มาดูรายละเอียดกันค่ะ

More...

Storytellingหรือ การเล่าเรื่อง กลายเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ของผู้นำเสนอในยุคนี้ ไม่มีใครอยากฟังแค่ บลา บลา บลา ใครๆ ก็อยากฟังเรื่องราว แต่ไม่ใช่แค่โยนเรื่องอะไรไปก็กลายเป็นเรื่องราวที่ปัง ที่โดน....

ในโพสต์นี้เราจะมาดู 4 กฎเหล็กในการเล่าเรื่องกันค่ะ

  1. 1
    เลือกสิ่งสำคัญที่จะเล่า: อย่างแรกค่ะ เรื่องที่เล่าต้องมีประเด็นสำคัญและสอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ ไม่ใช่แค่เล่าไปเรื่อย แล้วอะไรไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องสื่อ ไม่ต้องใส่เข้ามา อันไหนไม่สำคัญไม่ต้องให้รายละเอียดเยอะ เช่น เล่าเรื่องการเตรียมตัวไปเที่ยว ไม่ต้องลงรายละเอียดว่าเอาเสื้อไปกี่ตัว สีอะไรบ้าง คอกลม คอเต่า หรือเสื้อเชิ้ต เป็นต้น
  2. 2
    เรียงร้อยเรื่องราว: ในการนำเสนอ ไม่เหมือนการอ่านหนังสือ คนฟังไม่สามารถเปิดกลับไปอ่านหน้าเก่าๆ ได้ ดังนั้นการเรียงร้อยเรื่องราวจึงสำคัญมาก หากเรื่องราวเราย้อนไปย้อนมา คนฟังจะสับสน เทคนิคหนึ่ง คือ การเล่าตาม timeline  โดยเล่าเรื่องให้เดินไปข้างหน้า เช่น เหตุการณ์เมื่อต้นปี 2562 เรื่อยมาจนถึงปลายปี 2562  หรือ เราอาจเอาบทสรุปตอนปลายปีขึ้นก่อน จากนั้นจึงเล่าตั้งแต่ต้นปีไปจนถึงจุดปลายปีที่เกริ่นไว้ตอนต้น
  3. 3
    ใส่ Aha Moment: หากเรื่องที่เล่าไม่มี Climax ก็จะกลายเป็นเล่าไปเรื่อย ดังนั้นเราต้องวางโครงเรื่องเพื่อใส่ Aha Moment เข้าไปด้วย วิธีง่ายๆ คือ ใช้ plot เรื่อง แบบ Man in Hole คือ มีการเกริ่นสถานการณ์ (ชีวิตของนิราก่อนที่จะกลับมาเมืองไทย) จากนั้นสถานการณ์เริ่มคับขัน (แม่ตาย กลับเมืองไทย ต้องแย่งอาชัช ตบตีกับมะนาว แถมต้องสู้รบกับพ่อกับอารอง) แล้วสถานการณ์ก็กลับกลาย (ทุกคนรู้ความจริงเรื่องนิราแปลงเพศ นิราเชือดคอตาย แต่ไม่ตาย แฮ่)
  4. 4
    เล่าแบบมีอารมณ์ร่วม: เมื่อมีเรื่องราวที่ดีแล้ว เวลาเล่าก็ต้องเล่าให้มันส์ เล่าแบบมีอารมณ์ร่วมนะคะ อย่าเล่าเหมือนท่องให้ฟัง ไม่งั้นเรื่องดีๆ ของเราที่อุตส่าห์เตรียมมา จะกลายเป็นยานอนหลับไปซะงั้น

เราสามารถนำข้อ 1 - 3 ข้างต้นมาเป็น checklistในการตรวจสอบเรื่องราวของเราว่าจะเข้าหูคนฟังมาน้อยแค่ไหน เขาจะงงหรือเปล่า แล้วประเด็นของเราชัดเจนดีหรือไม่ ลองนำไปใช้ดูนะคะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ