อ่านยากมากจ้า...”

อิงถึงกับต้องพึมพำออกมาเมื่อเห็นสไลด์ในรูป

เชื่อว่าหลายๆ คนเคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน คือ สไลด์ที่ไม่ซับซ้อนอะไร มีตัวหนังสือไม่กี่บรรทัด แต่อ่านยากมาก ต้องใช้พลังสายตาและพลังใจในการแกะและรวบรวมประโยค (พร้อมกับตีความอีกรอบ หากเป็นภาษาอื่น)

หากเราเป็นผู้นำเสนอ หน้าที่ของเรา คือ ต้องอำนวยความสะดวก (ในการอ่าน คิด และตีความ) ให้กับผู้ฟังมากที่สุด

ดังนั้น กฎอย่างง่าย คือ เราต้องไม่เลือก Fonts ที่อ่านยาก

More...

หากเป็นในกรณีทั่วไป อิงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยง 5 กลุ่ม Fonts ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ตัวอักษรที่มีช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างวรรคไม่แตกต่างกันมาก

Fonts ที่มีช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างวรรคไม่ต่างกันมาก จะอ่านค่อนข้างลำบาก โดยอาจเป็นได้ทั้งกรณีที่ช่องว่างระหว่างตัวอักษรกว้างและแคบ (ซึ่งตัวช่องว่างระหว่างวรรคก็จะกว้างหรือแคบไปด้วย) ดังแสดงในรูป A

2. ตัวอักษรบีบจนอ่านได้ยาก

ตัวอย่างดังแสดงในรูป B หากลองอ่านดูจะพบว่าเราต้องเพ่งมากกว่าปกติ

3. ตัวอักษรที่มีเส้นหนา

ตัวอักษรประเภทนี้บาง Fonts จะอ่านได้ยาก หากต้องการใช้ ต้องลองเลือกดูดีๆ ค่ะ ตัวอย่างในรูป C จะพบว่าเมื่อ Fonts มีเส้นหนาและยังอยู่ค่อนข้างชิดกัน ทำให้อ่านได้ยากมาก

4. ตัวอักษรแบบลายมือ

หากเป็นคำสั้นๆ อาจพออ่านได้บ้าง แต่ถ้าเป็นประโยคยาวๆ จะต้องใช้พลังงานสูงมากในการอ่าน ดังตัวอย่างในรูป D

5. ตัวอักษรแบบพิมพ์ดีด

ตัวอักษรลักษณะนี้อาจมีขนาดของตัวอักษรที่แปลกตาไปกว่าปกติ ทำให้เราต้องใช้สมาธิในการอ่านมากขึ้น ดังตัวอย่างในรูป E

เราควรหลีกเลี่ยง Fonts ลักษณะเหล่านี้เวลาเตรียมการนำเสนอ ยกเว้นการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงจริงๆ ค่ะ

สรุป

Fonts 5 ลักษณะที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ตัวอักษรที่มีช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างวรรคไม่แตกต่างกันมาก
  2. ตัวอักษรบีบจนอ่านได้ยาก
  3. ตัวอักษรที่มีเส้นหนา
  4. ตัวอักษรแบบลายมือ
  5. ตัวอักษรแบบพิมพ์ดีด

คำถามชวนคิด

เวลาไปฟังการนำเสนอ เราเคยเห็น Fonts แบบไหนอีกบ้าง ที่อ่านยากมาก...ถึงมากที่สุด...

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ