เคยสังเกตมั๊ยคะเวลาไปนั่งฝึกอบรมหรือฟังการนำเสนอ วิทยากรหลายคนเลือกที่จะให้สไลด์ของเขาแสดงทุกสิ่งทุกอย่างออกมาพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น bullet points 7 อันพร้อมประโยคยาวๆ หรือกราฟพร้อมตัวหนังสืออธิบายกำกับอยู่ด้านล่าง

เมื่อคุณเห็นสไลด์แบบนั้น เกิดอะไรขึ้นเอ่ย?

โดยธรรมชาติแล้วมีอยู่ 2 อย่าง คือ หนึ่ง ตั้งหน้าตั้งตาอ่าน และ สอง เลิกอ่านสไลด์หันมาอ่าน fb ในโทรศัพท์แทน

หากนั่นเป็นการนำเสนอของเราหละ จะแก้ปัญหาอย่างไร?

วิธีแก้ง่ายๆ ค่ะ คือ ใช้ Animation ให้สิ่งที่เราต้องการนำเสนอแสดงออกมาทีละส่วน   พอพูดส่วนนั้นเสร็จ ก็ค่อยคลิกให้ส่วนต่อไปแสดงออกมา…

หลักการง่ายมาก แต่ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนที่ไม่อยากใช้ Animation อยู่ 

ในบทความสมัยโบราณ กูรูหลายคนก็บออกว่า Animation เป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่มาทำให้เกิด distraction… ความเห็นส่วนตัว อิงกลับคิดว่า Animation ดีออก ทำให้การควบคุมความสนใจของคนฟังอยู่ในมือเรา

เหตุผล เหตุผล และเหตุผล

มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ที่อิงอยากจะเชิญชวนผู้อ่านนำ Animation ไปใช้ในการนำเสนอครั้งหน้าค่ะ

  1. ผู้ฟังจะได้ไม่กลายเป็นผู้อ่าน เมื่อผู้ฟังเห็นสไลด์แน่นๆ มีแนวโน้มสูงค่ะ ที่เขาจะอ่านแข่งกับที่เราพูด และเมื่อเขาอ่านอยู่ สิ่งที่เราพูดจะไม่สามารถเจาะเข้าหัวเขาได้นะคะ
  2. ผู้ฟังจะอยู่กับหัวข้อที่เราพูด ณ ขณะนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะพูดในอีก 2 นาทีข้างหน้า 
  3. เมื่อมีสิ่งใหม่ปรากฎขึ้นบนสไลด์จะเป็นการกระตุ้นทางอ้อมให้ผู้ฟังกลับมา Focus ที่เราอีกครั้ง (หากเขาอ่าน Line อยู่ สิ่งที่แว่บเข้ามาปลายหางตา จะช่วยดึงให้เขากลับมาสนใจที่สไลด์และผู้พูดอีกครั้ง)

ส่วนการทำ Animation ก็ต้องมีศิลปะในการเลือกให้เหมาะกับเนื้อหาของเรา และมี Rule of Thumbs อยู่บ้างนิดหน่อย ไว้มาเล่ากันต่อในโพสต์ต่อไปนะคะ

คำถามชวนคิด

สไลด์ที่เราเพิ่งนำเสนอไปครั้งล่าสุด ได้ใช้ประโยชน์จาก Animation บ้างหรือไม่

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ