สิ่งเดียวที่จะเปลี่ยนคุณให้นำเสนอดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา

สิ่งเดียวที่จะทำให้คุณไปนำเสนอที่ไหนก็มีแต่คนชื่นชม

สิ่งเดียวที่จะช่วยให้คุณส่งสารไปยังผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณว่า... เจ้าสิ่งเดียวนั้นคืออะไร

ความลับเดียวที่ทุกคนสามารถมีได้...

นั้นคือ... อะไร?

More...

ความลับที่ซ่อนอยู่

อะไรเอ่ย ที่ทำให้คุณมานั่งคิดว่าผู้ฟังของคุณเป็นใคร เขารู้อะไร ไม่รู้อะไร และเขาจะได้อะไรจากสิ่งที่คุณนำเสนอ

อะไรเอ่ย ที่ทำให้คุณใช้เวลานั่งคิดเค้าโครงการนำเสนอ ค่อยๆ เรียบเรียงให้คนฟังเข้าใจและได้ประโยชน์ที่สุด

อะไรเอ่ย ที่ทำให้คุณนั่งหลังขดหลังแข็ง ปวดไหล่ไปหมด ค่อยๆ จัดวางแต่ละองค์ประกอบในสไลด์อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อะไรเอ่ย ที่ทำให้คุณสละเวลา นั่งซ้อม ยืนซ้อม เดินซ้อม เพื่อให้การนำเสนอออกมาลื่นไหล น่าฟัง และดึงดูดใจผู้ฟัง

คุณว่า... ความลับนั้นคืออะไร

ความลับนั้น คือ "ความใส่ใจ" ค่ะ

หากไม่ใส่ใจ คุณจะไม่เสียสมองไปคิด

หากไม่ใส่ใจ คุณจะไม่ให้ความสำคัญ

หากไม่ใส่ใจ คุณจะไม่มีเวลาให้

คุณอาจคิดว่า ไม่หรอก เพราะมันสำคัญต่างหากฉันจึงใช้สมองและให้เวลากับการนำเสนอนั้น

แล้วทำไมหลายๆ คน ทั้งที่รู้ว่าสำคัญ แต่ใช้สมองไม่เต็มที่ และไม่ให้เวลากับการนำเสนอนั้น ราวกับสิ่งนี้ไม่สำคัญ

เพราะเขาไม่ใส่ใจค่ะ

สิ่งที่ตามมาจากความใส่ใจ

ถ้าคุณใส่ใจ คุณจะอยากพัฒนาทักษะการนำเสนอของตัวเอง

ถ้าคุณใส่ใจ คุณจะให้ความสำคัญกับการนำเสนอตรงหน้า 

ถ้าคุณใส่ใจ คุณจะมีเวลาให้ทั้งกับการพัฒนาทักษะและการนำเสนอ

แล้ว 'ใส่ใจ' ในอะไร?

ใส่ใจในการฝึกทักษะ

ใส่ใจในการตอบโจทย์ของผู้ฟัง

ใส่ใจในการค้นคว้าและเรียบเรียงเนื้อหา

ใส่ใจในการเตรียมสไลด์

ใส่ใจในการซ้อม 

ใส่ใจในการนำเสนอ

ว่าแต่คุณรู้ความลับนี้แล้ว คุณจะใช้มันหรือเปล่า?

คำถามชวนคิด

ในการนำเสนอครั้งล่าสุด คุณมี 'ความใส่ใจ' หรือไม่?

ในการนำเสนอครั้งต่อไป คุณจะมี 'ความใส่ใจ' หรือเปล่า?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ