อิงเป็นสมาชิกรับฟังการสรุปหนังสือของบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังแห่งหนึ่ง ผ่านทาง FB live 

วิทยากรสรุปได้ดี หนังสือที่เลือกมาก็ดีค่ะ

แต่ใน episode แรกๆ สไลด์ที่ใช้หน้าตาไม่ค่อยโปรเท่าไหร่

พอหลังๆ เดาว่าน้องที่เป็นคนเตรียมสไลด์คงพอรู้ เลยพยามปรับให้ดูดีขึ้น 

ใน episode ล่าสุดที่ดู...

เดา (อีกแล้ว) ว่า น้องคงใช้ PowerPoint Template 

(ที่ซื้อหรือดาวน์โหลดมาฟรีจากอินเตอร์เน็ต)

อือม... เกือบดีค่ะ 

แต่มันมีอะไรขัดๆ ไม่รู้ 

พอประมวลดู 

อิงว่ามี 3 หลุมใหญ่ ที่เป็นกับดักสำหรับคนใช้ PowerPoint Template ที่น่ามาแชร์กันค่ะ

More...

PowerPoint Template โดยเฉพาะพวก infographic slide template เป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ เพราะประหยัดเวลา และได้ไอเดีย แต่การเลือกมาใช้ก็มีข้อควรระวังค่ะ... ระวังตกหลุม ทำให้จากสไลด์สุด Cool กลายเป็นไม่ Cool แถมเหมือนตัดโน่นนี่มาประกอบร่างกันด้วยค่ะ

#1 กับดักเรื่อง "สี"

โดยปกติใน Slide Template แบบ infographic จะมีการไล่สีในแต่ละ elements มาให้เพื่อให้ดูสวยงาม ซึ่งหลักๆ จะมีการใช้สี 3 แบบ ค่ะ หนึ่ง ใช้สีเดียว สอง ใช้สีโทนเดียวกัน สาม ใช้สีหลายสี ตัวอย่างเช่นในรูป A

บดักเรื่อง "สี" ที่มักพบบ่อย คือ Slide template ที่นำไปใช้เอามาจากหลายแหล่ง และมีการใช้สีที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาใช้ จะเกิดได้ 2 กรณี

กรณีที่ 1 Paste แบบ Use destination theme ทำให้สีจากสไลด์ต้นฉบับ ถูกปรับเป็นสีใน theme ของชุดสไลด์ที่เรากำลังทำงานอยู่ นั่นทำให้สีที่เคยสวย อาจกลายเป็นไม่สวยได้ ตัวอย่างในรูป B 

กรณีที่ 2 Paste แบบ Keep source formatting ในกรณีนี้ ชุดสีที่ใช้สำหรับสไลด์นี้จะหน้าตาไม่เหมือนชุดสีที่ใช้กับสไลด์ปกติของเรา และหากเรา Copy และ Paste มาจากหลายๆ แหล่ง คราวนี้ชุดสไลด์ของเรากลายเป็นต้มจับฉ่ายรวมมิตร มีสีมากมายอยู่ในชุดสไลด์ ดูไม่โปรค่ะ ตัวอย่างในรูป C

#2 กับดักเรื่อง "สไตล์"

Slide template ที่เป็น infographic มีให้เลือกหลากหลายมากค่ะ ตัวอย่างเช่น อิงอาจเลือกใช้สไลด์แสดงผล survey จากชุดสไลด์ agenda แล้วมาเลือก timeline จากชุดสไลด์ timeline พร้อมกับใส่เนื้อหาที่มี Icons สวยๆ  จากชุดสไลด์อื่นที่ซื้อมา (หรือดาวน์โหลดฟรีมา) แล้วเอามาใส่รวมเป็นสไลด์ของอิง

กับดักเรื่อง "สไตล์" ที่พบทันที คือ แบบที่เราชอบอาจมีความหลากหลายในตัวสไตล์ของ elements ที่ประกอบขึ้นมาเป็นสไลด์ ดังตัวอย่างในรูป D จะเห็นว่าแค่ลักษณะของ Icons ที่ใช้ในแต่ละสไลด์ก็แตกต่างกันแล้วค่ะ ทั้งในรูปของลายเส้น (ความหนา/บาง) และสไตล์ของ Icons นั้นๆ

#3 กับดักเรื่อง "เนื้อหาและบริบท"

บริบทของการนำเสนอเป็นสิ่งที่มักถูกมองข้ามไปมากที่สุด ขณะเดียวกันเมื่อเราเตรียมสไลด์อย่างเพลิดเพลินเราก็มักลืมคิดถึงเนื้อหาที่ต้องนำเสนอเช่นกัน 

ยกตัวอย่างเช่น เราเตรียมสไลด์สำหรับช่วยให้น้องๆ ชั้นมัธยมเข้าใจเรื่องอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 แต่ template ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาสำหรับการนำเสนอเชิงธุรกิจ ดังนั้นสไลด์ที่ใช้ template ลักษณะนี้อาจไม่เข้าถึงน้องๆ เขาได้ 

หรือในการนำเสนอให้ผู้บริหารที่มีเวลาจำกัดฟัง แล้วเราจะเลือก fish bone diagram จาก template ไปใช้ คุณคิดว่า template หมายเลข 1 หรือ 2 ในรูป E ที่ควรนำไปใช้ (หากเลือกเพลินๆ โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาและบริบท ก็อาจเลือกพลาดได้นะคะ)

คำถามชวนคิด

คุณใช้ slide template ที่ซื้อมา (หรือดาวน์โหลดฟรี) ในการนำเสนอของคุณหรือไม่?

คุณตกหลุมพรางเหล่านี้บ้างหรือเปล่า?

แล้วคุณจะต้องปรับปรุงสไลด์นั้นอย่างไร?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ