ทำไมเราต้องอ่านหนังสือที่สอนให้เราอ่านหนังสือ?
อิงเชื่อว่าหลายคนคงคิดแบบนี้เมื่อเห็นชื่อหนังสือ
แต่พอต่อท้ายด้วย โทได หรือ มหาวิทยาลัยโตเกียว ที่โด่งดัง
บางคนคงตัดสินใจซื้อทันที
(แบบเดียวกับที่อิงเป็น)
เพื่อช่วยให้คนอื่นๆ มีข้อมูลตัดสินใจมากขึ้น
(รวมถึงป้ายยาเล็กน้อย เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการซื้อหนังสือ)
มาดูรีวิวจากมุมมองของอิงกันค่ะ
More...
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิชิโอกะ อิสเซ เป็นนักศึกษาปี 3 ของมหาวิทยาลัยโตเกียว หนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อดังสุดๆ ของญี่ปุ่น น้องมีประวัติที่น่าทึ่งในการเปลี่ยนตัวเองจากนักเรียนที่มีคะแนนสอบมาตรฐานต่ำมาก (35 คะแนน) แถมเรียนในโรงเรียนที่ไม่เคยมีนักเรียนสอบติดโทไดมาก่อน (ตอนแรกน้องเองก็สอบไม่ติด ต้องเตรียมสอบอยู่อีก 2 ปี)
ในช่วงเวลาเตรียมสอบนี่เอง น้องค้นพบวิธีการอ่านที่ทำให้คะแนนสอบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนติดอันดับ 4 ของประเทศ ในการทดลองสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียว แล้วในที่สุดก็เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวได้สำเร็จ
สิ่งที่น้องเคลมต่อมา คือ วิธีที่น้องพบนั้น เป็นวิธีเดียวกับที่นักศึกษามหาวิทยาลัยโตเกียวใช้ (น้องรู้ได้อย่างไร? คำตอบ คือ น้องสังเกตคนอื่นๆ และสอบถามนั่นเอง แต่คำถามต่อมา คือ แล้วสิ่งที่พบเชื่อถือได้หรือไม่ นำมาเคลมต่อได้หรือเปล่า - คำถามเหล่านี้ได้มาจากวิธีการอ่านที่น้องเขียนไว้ค่ะ ว่าให้ตั้งข้อสงสัยและถกเถียงกับหนังสือ)
ข้อสังเกต คือ ถึงน้องยังเด็กมาก (เรียนยังไม่จบ ตอนเขียนหนังสือ) แต่สิ่งที่น้องเขียน คือ วิธีการอ่าน ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยน่าจะมีความเชี่ยวชาญสูง แล้วน้องยังมีประสบการณ์ในการสอนพิเศษเรื่องทักษะการอ่านและคิดอีกด้วย ถือว่าน่าสนใจทีเดียว
หนังสือนี้น่าจะเหมาะกับใคร
ทักษะการอ่านเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญในการสื่อสาร แต่ไม่ใช่ทุกคนจะชื่นชมและทุ่มเทในการสร้างทักษะการอ่าน หากดูจากชื่อหนังสือแล้ว อิงว่าคนที่น่าจะได้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้มากกว่าเพื่อน คือ
หนังสือเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
อย่างแรกต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า ทักษะการอ่านไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือออก แต่ครอบคลุมถึงการตีความ ทำความเข้าใจ สรุปใจความ (ที่เฉพาะตัวสำหรับเรา) เพื่อเอาไปใช้ต่อ
หนังสือแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ (ไม่รวมบทนำ ภาคผนวนก และบทส่งท้าย) โดยในส่วนที่ 1 คือ 5 ขั้นตอนในการ "อ่านแบบโทได" ที่ช่วยพัฒนาไหวพริบ จะประกอบด้วย 5 ขั้นตอน และส่วนที่ 2 วิธีเลือก "หนังสือที่ควรอ่าน" แบบโทได จะประกอบด้วย 5 วิธีการ มาดูรายละเอียดกันค่ะ
#ส่วนที่หนึ่ง 5 ขั้นตอนในการ "อ่านแบบโทได" ที่ช่วยพัฒนาไหวพริบ
ส่วนนี้คือเนื้อหาหลักที่ตอบโจทย์ที่หัวเรื่องตั้งไว้ "อ่านแบบโทได" โดยมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะเป็นการพัฒนาทักษะในแต่ละด้านที่สอดประสานกัน ประกอบด้วย
#ส่วนที่สอง วิธีเลือก "หนังสือที่ควรอ่าน" แบบโทได
การเลือกหนังสือก็สำคัญ เพราะเรามีเวลาจำกัด ไม่สามารถอ่านหนังสือทุกเล่มในท้องตลาดได้ นอกจากนี้หนังสือบางเล่มอ่านในช่วงเวลาที่แตกต่างกันก็ให้มุมมองที่แตกต่างกันเช่นกัน
ผู้เขียนแนะนำวิธีการเลือกหนังสือที่ควรอ่านไว้ 5 วิธีด้วยกัน คือ
ความคิดเห็นของฉัน
อิงว่าผู้เขียนตั้งชื่อหนังสือได้อย่างฉลาด เป็นการใช้ Authority ของสถานศึกษา คือ มหาวิทยาลัยโตเกียว (โทได) มาช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของหนังสือ (อิงก็ซื้อเพราะชื่อหนังสือ) แต่สิ่งที่อิงว่าดึงดูดกว่าชื่อหนังสือ คือ คำโปรยที่ปก "คนทั่วไปอ่านเพิ่มความรู้ แต่เด็กโทไดอ่านเพิ่มความคิด" เป็นการกระตุ้นความอยากรู้และบอกบทสรุปของหนังสือไปพร้อมกันเลยทีเดียว (ตอนซื้ออิงไม่เห็นคำโปรยค่ะ เพราะรูปในหน้าเว็บเล็กเกินกว่าจะส่องเห็น)
อิงว่าหนังสือเล่มนี้เนื้อหาค่อนข้างแหวกแนวจากเล่มอื่นๆ ในท้องตลาด อิงเคยอ่านอีกเล่มนึงที่คล้ายกันบางส่วน เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อว่า Asking the right questions พอมาเจอมีหนังสือภาษาไทย (ถึงจะแปลมาจากภาษาญี่ปุ่นก็ตาม) ที่คล้ายกันก็ดีใจค่ะ เพราะอยากให้หลานๆ และน้องๆ ที่ทำงานด้วยกันได้อ่าน ก่อนหน้านี้จะมีหนังสืออีกเล่มนึงชื่อ ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้ (ดูรีวิวได้ที่นี่) ที่มีแตะเรื่องทักษะการอ่านอยู่ด้วย แต่อิงว่าอ่านแบบโทได ลงรายละเอียดในขั้นตอนการอ่านมากกว่า
ผู้เขียนวางโครงเรื่องในการเขียนไว้ดีมากค่ะ เป็นขั้นเป็นตอน ในแต่ละหัวข้อมีการพูดถึงประเด็นสำคัญในแต่ละเรื่องแล้วค่อยๆ ขยายความพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เทคนิคที่แนะนำในหนังสือทำตามได้ไม่ยากเลย
สำหรับเนื้อหาในส่วนที่ 1 สิ่งที่อาจต้องตั้งคำถามกับตัวเราเอง คือ เราจะนำทุกขั้นตอนที่ผู้เขียนแนะนำมาลองใช้หรือไม่ เพราะเราอาจคุ้นชินกับการอ่านหนังสือที่เป็นแค่ "การอ่าน" คือ อ่านเฉยๆ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจไม่ได้ใช้พลังสมองใน "การคิด" เพื่อโต้แย้ง ขยายความ หรือหาคำตอบให้กับคำถามที่ใบ้ไว้ในหนังสือ ดังนั้นหากต้องมาต่อสู้ (ทางความคิด) กับหนังสือในระหว่างการอ่าน เราจะทำมันได้ตลอดรอดฝั่งหรือเปล่า
คำถามต่อมา คือ แล้วหนังสือที่เรากำลังจะอ่าน มีคุณค่ามากพอที่จะทำให้เราต้องทุ่มเทแรงใจแรงกายหรือเปล่า?
อิงคงตอบทั้ง 2 คำถามแทนตัวคุณไม่ได้ ส่วนตัวอิงก่อนหน้านี้ก็ใช้แค่เทคนิคบางอย่างที่ในผู้เขียนพูดถึง เช่น การอ่านหน้าปกและการวิเคราะห์สารบัญ ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ก็พยามทำตามเพื่อลองฝึกและจับความรู้สึกว่าถูกจริตหรือเปล่า (ส่วนที่ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ คือ ตอนตั้งสมมุติฐาน) ผลที่ได้รู้สึกว่าอ่านหนังสือเข้าใจมากขึ้น จดจำได้ค่อนข้างดี แต่หวาดระแวงมากขึ้น (หมายถึง ไม่ค่อยเชื่อสถิติและข้อมูลบางอย่างที่ผู้เขียนยกมา)
โดยสรุป อิงคงนำเทคนิคส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนแนะนำไปใช้ในการอ่านหนังสือเล่มต่อไปแน่นอน
สำหรับเนื้อหาในส่วนที่ 2 ว่าด้วยการเลือกหนังสือ อิงเห็นด้วยทุกประการค่ะ ไม่ว่าหนังสือขายดี หนังสือที่คนที่ไว้ใจได้แนะนำ หนังสือขึ้นหิ้ง หนังสือตามธีมที่เลือกไว้ หรือหนังสือที่ไม่คิดว่าอยากจะอ่าน อิงชอบทุกแบบค่ะ น่าซื้อน่าอ่านไปหมด ปีนี้ตั้งใจว่าจะลองอ่านหนังสือที่ไม่คิดว่าจะอ่านเพิ่มขึ้นค่ะ มีซื้อมาเก็บไว้ใน stock บ้างแล้ว รอคิวไปก่อน
(หา... อะไรนะ มีหนังสือเยอะเกินไปแล้วหรอ... อือม ก็เยอะจริงค่ะ เมื่อหลายปีก่อน เคยคิดว่าถ้าลาออกมานั่งอ่านหนังสืออย่างเดียวต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะอ่านครบ คิดแล้วสยอง เลยเลิกคิดไปแล้วค่ะ ว่าแล้วไปเลือกซื้อหนังสือใหม่ดีกว่า)
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้
แล้วควรซื้อหรือไม่?
นี่เป็นหนังสือที่อิงอยากซื้อให้หลานๆ อ่าน (ถึงแม้เด็กๆ อาจจะอยากเล่นเกมมากกว่าก็ตาม)
ถ้าถามคนชอบอ่านหนังสืออย่างอิง แน่นอนค่ะ หนังสือเล่มนี้น่าซื้อมาเก็บ (หรือถ้าไม่ซื้อ อย่างน้อยควรหายืมมาอ่าน) หากคุณอ่านแล้วนำไปใช้ อิงเชื่อว่าคุณจะอ่านหนังสือเล่มต่อไปของคุณได้อย่างสนุกมากขึ้น ได้ใช้ความคิดระหว่างการอ่านมากขึ้น และจะจดจำสิ่งสำคัญได้มากขึ้นแน่นอน
แต่... ก่อนจะตัดสินใจ คิดก่อนนะคะว่าเราอยากพัฒนาทักษะการอ่านอย่างจริงจังหรือเปล่า เพราะวิธีการที่แนะนำในหนังสือ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่ใช้พลังกายพลังใจสูงในการทำตามค่ะ
คำถามชวนคิด
คุณพร้อมหรือไม่ ที่จะพัฒนาทักษะการอ่านของคุณ?
ขอบคุณสำหรับรีวิวครับ เป็นประโยชน์มากๆครับ
ดีใจที่ชอบค่ะ ฝากติดตามผลงานด้วยค่ะ