ในบางครั้งผู้นำเสนอเล่าเรื่องได้น่าฟังมากค่ะ...

เนื้อหาที่นำเสนอก็ดี...

แต่...

พอเขาพูดออกมาคำนึง...

เราที่เป็นคนฟังถึงกับชะงักไป...

ความชอบมันค่อยๆ ถอยลดลง

....

หรือเราอาจเคยเจอแบบนี้ค่ะ

ผู้นำเสนอดูบุคลิกดีมากเลย...

ประวัติก็เยี่ยมยอด...

แต่... พอพูดคำแรก...ก็ออกตัวแรงไปหน่อยค่ะ...

ความเยี่ยมทั้งหลายเลยลดระดับลง

....

โดยปกติผู้นำเสนอมักออกแบบเนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นอย่างดี

เขียนสคริปต์ไว้ก็มีค่ะ...

แต่... ที่มักพลาดกัน คือ ส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาหลัก หรือที่นอกเหนือสคริปต์นั่นเอง

แล้ว... 

มีคำพูดอะไรบ้างที่เราควรระวังและหลีกเลี่ยงในการนำเสนอ

มาดูกันค่ะ

More...

(หมายเหตุ: บทความนี้มาจากการสังเกตเท่าที่เห็นมาและความคิดเห็นส่วนตัวผสมกับที่อ่านเจอในหนังสือหลายเล่ม ผู้อ่านบางท่านอาจเห็นไม่ตรงกัน ขอให้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ) 

อิงรวบรวมคำพูดเท่าที่ประสบพบมาแล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงได้ดังนี้ค่ะ

กลุ่มคำพูดที่สะท้อนความไม่ใส่ใจของผู้นำเสนอ

คำพูดบางประโยคอาจดูเหมือนการออกตัวหรือขออภัยผู้ฟัง คล้ายกับจะดูดี... แต่กลับตีความหมายหรือสะท้อนออกมาได้ว่าผู้นำเสนอไม่ได้ใส่ใจผู้ฟังเพียงพอ นั่นทำให้ผู้ฟังต้องคิดแล้วว่าเขาควรใส่ใจกับการนำเสนอครั้งนี้มั๊ย ตัวอย่างประโยคที่เราควรหลีกเลี่ยง เช่น 

  • ผม/ดิฉันต้องขอโทษจริงๆ ที่มีเวลาไม่มากในการเตรียมตัวในการนำเสนอ (แปลว่า คุณคนฟังไม่ได้สำคัญเพียงพอ)
  • ผม/ดิฉันเตรียมสไลด์มาเยอะเลยแต่เวลาน้อยคงพูดได้ไม่หมด (แปลว่า ไม่ได้ดูมาก่อนว่ามีเวลาในการนำเสนอเท่าไหร่)
  • ผม/ดิฉันขอพูดไปเร็วๆ เพราะเนื้อหาเยอะ หากสงสัยให้ยกมือถามได้เลย (แปลว่า ไม่ได้ปรับเนื้อหากับเวลาให้สอดคล้องกัน)
  • ผม/ดิฉันขอข้ามสไลด์นี้ไป หรือ สไลด์นี้ไม่มีอะไรมาก ผม/ดิฉันขอข้ามไป (แปลว่า ไม่ได้ดูมาก่อนว่าผู้ฟังเป็นใคร เลยใส่สไลด์ที่ไม่เกี่ยวหรือไม่เหมาะกับผู้ฟังมาด้วย)

กลุ่มคำพูดที่เชิญชวนให้ผู้ฟังสงสัยถึงความสามารถของผู้นำเสนอ

บางครั้งผู้นำเสนอมีความกังวลว่าตัวเองจะรู้น้อยกว่าผู้ฟังเลยอยากจะออกตัวไว้สักนิดนึงว่าเขาเองอาจจะมีความรู้ในเรื่องนี้ไม่ดีพอ หรือบางครั้งผู้นำเสนอต้องการจะถ่อมตัว แต่ออกตัวแรงไปนิดนึง เลยทำให้ผู้ฟังสงสัยถึงความสามารถของผู้นำเสนอแทนที่จะรู้สึกว่าผู้นำเสนอเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนซะนั่น ตัวอย่างประโยคที่เราควรหลีกเลี่ยง เช่น 

  • ผม/ดิฉันก็ยังเป็นมือใหม่ในเรื่องนี้อยู่...
  • ผม/ดิฉันก็ยังมีประสบการณ์ไม่มากนักในเรื่องนี้...

(ข้อแนะนำจากกูรูและหนังสือทั่วไป คือ อย่าถ่อมตัวค่ะ ข้ามส่วนนี้ไปเลยไม่ต้องออกตัวใดๆ ทั้งนั้น)

กลุ่มคำพูดที่ดูถูกคนฟังหรือคนอื่น

คำพูดที่ดูถูกคนฟังหรือคนอื่นๆ (บุคคลที่ 3) เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างแรงค่ะ โดยปกติมักไม่ค่อยเจอในการนำเสนอเชิงวิชาการ แต่พบเจอได้บ้างในการฝึกอบรมที่ผู้นำเสนอเป็นผู้รู้มากๆ อาจมีพลั้งเผลอพูดจาแบบนี้ออกมาบ้าง ประโยคที่ความหมายเดียวกันแต่รูปประโยคต่างกันก็ให้ความรู้สึกต่างกันนะคะ ลองดู 2 ประโยคนี้ค่ะ ว่าถ้าเราเป็นผู้ฟัง เราอยากฟังประโยคไหนมากกว่ากัน

"ผมว่าพวกคุณประสบการณ์ไม่ถึง ทำไม่ได้หรอก ต้องไปเรียนรู้เพิ่ม" หรือ

"ผมว่าด้วยประสบการณ์ที่ยังน้อยอยู่ พวกคุณอาจยังทำไม่ได้ในตอนนี้ แต่ถ้าคุณเรียนรู้เพิ่มเติม คุณจะทำได้แน่นอน"

นอกจากทั้ง 3 กลุ่มนี้ อีกสิ่งที่ควรระวัง คือ การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะกับสถานการณ์หรือไม่ถูกกาลเทศะ โดยเฉพาะเมื่อผู้นำเสนอต้องการล้อเล่น ทำเป็นเรื่องตลก หรือหยอกล้อ 

คำถามชวนคิด

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ได้ยินคำพูดอะไรที่ไม่เหมาะสมบ้างหรือไม่?

แล้วหากคุณเป็นผู้นำเสนอ รายการคำพูดที่คุณอยากหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ