การเลือกสีเป็นปัญหาหนักอกหนักใจที่พบบ่อยของน้องๆ นักศึกษาที่อิงไปสอน 

อันนี้อิงเข้าใจดีเลยค่ะ...

โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยมั่นใจใน sense เรื่องการเลือกสีของตัวเอง

ทางแก้ คือ ฝึกบ่อยๆ หรือหาตัวช่วย

พูดถึงตัวช่วย...

เมื่อหลายวันก่อนอิงอ่านบทความด้าน Data Viz

...พูดถึงเครื่องมือช่วยเลือกชุดสีที่ชื่อ ColorBrewer 

พอตามไปลองใช้พบว่าน่าสนใจทีเดียวค่ะ

เป็นตัวช่วยที่แปลกใหม่ดี

เลยเอามารีวิวเป็นทางเลือกให้ผู้อ่านของ skilldee กันค่ะ

More...

ColorBrewer คือ อะไร?

Colorbrewer เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเลือกสีแบบ Web-based (ใช้งานผ่าน website ของ ColorBrewer) ออกแบบมาช่วยเลือกชุดสีที่เหมาะสมโดยเฉพาะกับการใช้สีในแผนที่ 

แต่เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับกราฟหรือสีใน PowerPoint ก็ได้นะคะ โดยเฉพาะสีแบบ Monochromatic (ใช้สีเดียว แต่เข้มหรืออ่อนต่างกัน) ที่ถ้าให้นั่งไล่ระดับสีเอง อาจจะยากพอสมควร

หน้าตาของ ColorBrewer

Google หาคำว่า ColorBrewer แล้วคลิกเข้าสู่หน้าเว็บของ ColorBrewer (https://colorbrewer2.org) จะเจอหน้าจอในรูป A

หน้าจอของ ColorBrewer แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1) หน้าจอคำสั่ง (หมายเลข 1 ในรูป A) ตรงส่วนนี้เราสามารถปรับแต่งการใช้สีตามที่เครื่องมือมีให้ และ 2) ส่วนแสดงผล (หมายเลข 2 ในรูป A) 

คำสั่งในการใช้งาน ColorBrewer

ColorBrewer ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และหากเราแค่ต้องการดูว่าชุดสีไหนเหมาะกับงานของเรา (โดยเฉพาะใช้กับแผนที่) ยิ่งง่ายเลยค่ะ

มาดูชุดคำสั่งในรูป B กันค่ะ

คำสั่งเลือกจำนวนสีที่แสดง 

(หมายเลข 1 ในรูป B) คำสั่งนี้มีให้เลือกตั้งแต่ 3 ถึง 12 สี (ขึ้นกับว่าเราเลือก Nature of your data อย่างไร)

คำสั่งเลือก Nature of your data 

(หมายเลข 2 ในรูป B) คำสั่งนี้มีให้เลือก 3 แบบ ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนสีและรูปแบบสี (Color scheme) ประกอบด้วย 

  • Sequential ซึ่งจะแสดง Color scheme แบบสีเดียว (Single hue) หรือสีที่ใกล้เคียงกัน (Multi-hue) ต่างกัน หากเลือกแบบนี้จะสามารถเลือกจำนวนสีได้ 3 - 9 สี
  • Diverging ซึ่งจะแสดง Color scheme สีที่แตกต่างกันหลักๆ ประมาณ 2 กลุ่ม เช่น สีน้ำตาลกับฟ้าในความเข้มต่างๆ หากเลือกแบบนี้จะสามารถเลือกจำนวนสีได้ 3 - 11 สี
  • Qualitative ซึ่งจะแสดง Color scheme สีที่หลากหลาย เช่น แดง ฟ้า เขียว ม่วง ส้ม เป็นต้น หากเลือกแบบนี้จะสามารถเลือกจำนวนสีได้ 3 - 12 สี

คำสั่ง Pick a color scheme 

(หมายเลข 3 ในรูป B) Color scheme ที่มีให้เลือกจะขึ้นกับว่าเราเลือก Nature of your data (หมายเลข 2) อย่างไร 

การนำสีที่เลือกไปใช้

เมื่อเลือกสีได้แล้ว และต้องการนำไปใช้กับ PowerPoint หรือโปรแกรมอื่น เราสามารถจดรหัสสี (หมายเลข 1 ในรูป C) ไปใช้งานได้เลยค่ะ

ลูกเล่นเพิ่มเติมของ ColorBrewer

สิ่งที่อิงคิดว่า ColorBrewer เจ๋งดี คือ เราสามารถรู้ได้เลยว่าสีที่เลือกมีความ user friendly ในการเอาไปใช้หรือเปล่า (สัญลักษณ์ต่างๆ ตรงส่วนหมายเลข 2 ในรูป C) ประกอบด้วย

  • สัญลักษณ์รูปตา: ผู้ที่ตาบอดสีสามารถแยกความแตกต่างได้
  • สัญลักษณ์รูปกระดาษและมีลูกศรตรงกลาง: เวลาถ่ายเอกสารแล้วยังสามารถแยกความแตกต่างของสีได้
  • สัญลักษณ์รูปโน๊ตบุ๊ค: มองเห็นความแตกต่างของสีได้บนจอ LCD
  • สัญลักษณ์รูปกระดาษ: เวลาพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ (Printer) แล้วยังสามารถแยกความแตกต่างของสีได้

หากมีเครื่องหมายผิดมาทับสัญลักษณ์นั้น เช่น ทับสัญลักษณ์รูปกระดาษ หมายความว่า เวลาพิมพ์ออกมาจะไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ เป็นต้น 

เห็นมั๊ยคะ ColorBrewer ใช้งานง่ายมาก แถมมีประโยชน์หลากหลายอีกด้วย อย่าลืมแวะไปลองเล่นกันดูนะคะ

คำถามชวนคิด

คุณจะใช้ ColorBrewer ช่วยในการเตรียมสไลด์ได้อย่างไร?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ