เขาว่ากันว่า…

เมื่อต่อต้านไม่ได้ให้เข้าร่วม…

นั่นอาจเป็นเหตุผลนึงที่ทำไมคนยังชอบใช้ Bullet Points ในสไลด์

หากเรามีเหตุต้องใช้ Bullet Points จริงๆ

เราก็ต้องไปให้สุดค่ะ คือ ต้องใช้แบบมือโปร

เอ๊ะ! การใช้ Bullet Points มีแบบโปรและแบบไม่โปรด้วยหรอ?

มีค่ะ…

แล้วคนที่เห็นสไลด์ก็ดูออกด้วย…

มาดูเรื่องง่ายๆ ที่จะทำให้เราใช้ Bullet Points แบบมือโปรกันค่ะ

More...

สไลด์ที่ใช้ Bullet Points แบบไม่โปร

อิงเชื่อว่าผู้อ่านเกือบทุกคนน่าจะผ่านตาสไลด์ Bullet Points มานับไม่ถ้วน ลองหลับตานึกดูค่ะว่าหน้าตาสไลด์ Bullet Points ที่ดูไม่โปรเป็นยังไงบ้าง.. 

ใช่แล้วค่ะ… 

สไลด์แบบนั้นแหละค่ะ ที่มี Bullet Points หลากหลายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตัวหนังสือเยอะๆ อ่านยากๆ ดูไม่ค่อยเป็นระเบียบ (ตัวอย่างในรูป A)

หลายคนอาจบอกว่า อิงโม้หรือเปล่า ไม่ได้โม้หรือมโนเอาเองค่ะ สไลด์ตัวอย่างทำขึ้นจากสไลด์จริงที่เห็นมาจริงกับตาค่ะ 

โดยปกติหากเราพิมพ์เนื้อหาเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหาในสไลด์ Bullet Points จะเป็นไปตาม default ของ Template ที่เราเลือกใช้ แต่ถ้าเรา copy and paste มาจากโปรแกรมอื่น หรือไฟล์สไลด์อื่นๆ ก็อาจทำให้มี Bullet Points ที่หลากหลาย รวมถึงการจัดวางที่ดูผิดเพี้ยนไปได้ค่ะ

5 ข้อควรทำ ให้การใช้ Bullet Points ในสไลด์ดูโปร

อย่างที่บอกค่ะ ถึงแม้เราจะเลือกใช้ Bullet Points เราก็ต้องทำให้สไลด์ Bullet Points ของเราดูโปรค่ะ เพื่อเพิ่มความสบายตาและลดภาระให้กับผู้ฟัง มาดูว่าเราควรทำอะไรกันบ้างค่ะ

(หมายเหตุ: อิงไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ Bullet Points นะคะ เรามีทางเลือกอื่นที่หลากหลาย เช่น การใช้ไอคอน หรือใช้รูปภาพ  แต่… หากเราหลีกเลี่ยง Bullet Points ไม่ได้จริงๆ หรือมีความจำเป็นต้องใช้ ก็ควรใช้ให้ดูโปรค่ะ)

#1 เลือก Bullet Points ที่ดูโปร

Bullet Points เองก็มีหลายรูปแบบค่ะ (ตัวอย่างในรูป B) 

หากไม่มีวัตถุประสงค์อื่นเป็นพิเศษ อิงแนะนำให้ใช้ Bullet  Points ที่เรียบง่ายค่ะ 

#2 จำกัดรูปแบบของ Bullet Points

Bullet Points มีหลากหลายรูปแบบ หากเราจำกัดการใช้แค่ 1-3 แบบ โดยจัดลำดับของ Bullet Points ให้สม่ำเสมอทั้งชุดสไลด์ เช่น ใช้วงกลมดำเล็กเป็น Bullet Points หลักในสไลด์ และใช้สัญลักษณ์ขีดกลางเป็น Bullet Points รองในสไลด์ เป็นต้น หลักการ คือ เลือกแล้ว ต้องใช้แบบนั้นอย่างสม่ำเสมอ 

#3 จำกัดเนื้อหาในแต่ละ Bullet Points

เราไม่ได้ใช้ Bullet Points แทนย่อหน้า หากเราเลือกใช้ Bullet Points เราควรพยามจำกัดเนื้อหาในแต่ละ Bullet Points หากทำได้ควรเป็น keyword หรือ ประเด็นสำคัญๆ เท่านั้น (ตัวอย่างในรูป C)

#4 ถ้ามีแค่ 1 Bullet Points อย่าใช้ Bullet Points

อันนี้ฟังแล้วอาจงงๆ ค่ะ ดูในรูป D ได้เลยค่ะ 

#5 ปรับแต่งการจัดวาง Bullet Points (ระยะห่างทั้งแนวนอนและแนวตั้ง)

เวลารีบๆ ทำสไลด์ หรือ copy and paste มาจากที่อื่นๆ จนปนๆ กัน การจัดวาง Bullet Points มักเสียทรงไปจากที่ควรจะเป็น สิ่งที่เราควรตรวจสอบ คือ

  1. ตัวอักษรแรกของบรรทัดอื่นๆ ของ Bullet Points ควรตรงกับตัวอักษรแรกของบรรทัดแรก
  2. ระยะห่างระหว่าง Bullet Points ควรมากกว่าระยะระหว่างบรรทัดใน Bullet Points แบบเห็นได้ชัด 

คำถามชวนคิด

หากคุณใช้ Bullet Points ในสไลด์ การใช้ Bullet Points ในสไลด์ของคุณเป็นอย่างไร?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ