เราอยากได้สี่เหลี่ยมที่มีรูวงกลมตรงกลางจัง 

แล้วก็อยากได้รูปสี่เหลี่ยมที่ตัดมุมด้วยรูปหกเหลี่ยมด้วย

อือม… รูปแปลกๆ ที่มีฐานเป็นวงกลมหัวเป็นสามเหลี่ยมแล้วมีรูโบ๋เป็นรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางก็อยากได้…

ไม่น่าเชื่อว่าบางครั้งเราก็อยากได้รูปทรงแปลกๆ มาใช้ใน Presentation ของเรา 

ปัญหา ก็ คือ PowerPoint มีแต่รูปทรงพื้นฐาน วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม ลูกศร ….  

แล้วเราจะทำอย่างไร?



เครื่องมือสารพัดนึกที่ชื่อว่า Shape

ถึง PowerPoint จะมีแต่รูปทรงพื้นฐานมาให้ แต่ก็ใจดีให้คำสั่ง Shape ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการ ตัด/รวม/สร้าง/แยก รูปทรงพื้นฐานให้เป็นรูปทรงแปลกตาได้

คำสั่ง Shape จะปรากฏขึ้นมา เมื่อเราคลิกเลือกรูปทรงมากกว่า 1 รูป (หากเลือกรูปเดียว จะเห็นคำสั่ง Shape แต่คลิกไม่ได้) 

รูป A แสดงตำแหน่งของคำสั่ง Shape ที่อยู่ใต้ Tab Shape Format (สำหรับ PowerPoint version เก่าๆ ต้องลองเช็คดูค่ะ ว่ามีคำสั่ง Shape หรือเปล่า)

รูป A แสดงตำแหน่งของคำสั่ง Shape ที่อยู่ใต้ Tab Shape Format

ชุดคำสั่งของ Shape

เมื่อคลิกที่ Shape แล้ว เราจะเห็นชุดคำสั่งทั้งหมด 5 คำสั่ง ดังนี้ 

  1. Union: รูปทรง 2 อันจะรวมกันรูปเดียวเต็มพื้นที่
  2. Combine: รูปทรง 2 อันจะรวมกันเป็นรูปเดียว โดยจะเว้นส่วนที่มีการทับซ้อนกันเป็นช่องว่าง
  3. Fragment: รูปทรง 2 อันจะถูกแยกออกเป็นหลายรูปทรง โดยทุกจุดที่มีเส้นรอบรูปทรงทับกันจะขาดออกจากกันเป็นรูปทรงใหม่อันย่อยๆ 
  4. Intersect: รูปทรง 2 อัน จะถูกตัดเหลือเฉพาะส่วนที่ทับซ้อนกัน พื้นที่นอกจากนั้นจะถูกทำให้หายไป
  5. Subcontract: ส่วนที่ทับซ้อนกันของรูปทรง 2 อัน จะถูกตัดออก เหลือเฉพาะส่วนที่ไม่ซ้อนกัน (รูปทรงที่ถูกคลิกเลือกก่อนจะถือเป็นรูปทรงหลัก และจะคงไว้เฉพาะส่วนที่ไม่ถูกอีกรูปทรงนึงที่คลิกที่หลังทับ ดังนั้นรูปที่ได้อาจไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าเลือกคลิกรูปทรงไหนก่อน)

ตัวอย่างผลลัพธ์จากชุดคำสั่งของ Shape

ตัวอย่างนี้จะใช้รูปสี่เหลี่ยมสีเทาและรูปหกเหลี่ยมสีส้มวางในตำแหน่งที่รูปหกเหลี่ยมอยู่ด้านบนเยื้องไปทางขวา (รูป B ด้านขวา)

รูป B ตัวอย่างการใช้คำสั่ง Shape สาธิตโดยใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมและหกเหลี่ยม

มาดูผลที่ละคำสั่งกันค่ะ อย่าลืมว่ารูปทรงที่คลิกเลือกไว้ก่อนจะเป็นรูปทรงหลัก และเมื่อใช้คำสั่งต่างๆ สีของรูปทรงสุดท้ายที่ได้จะเปลี่ยนไปเป็นสีเดียวกับรูปทรงหลักด้วย

Union (รูป C)

รูป C ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คำสั่ง Union

Combine (รูป D)

รูป D ผลที่เกิดขึ้นจากคำสั่ง Combine

จะสังเกตว่าสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างคำสั่ง Union กับ Combine คือ คำสั่ง Union พื้นที่ทั้งสองรูปทรงจะถูกรวมเต็มเป็นรูปเดียว ขณะที่คำสั่ง Combine พื้นที่ทั้งสองรูปทรงจะถูกรวมกัน แต่ตรงส่วนที่ทับกันจะแหว่งเป็นรู (กลายเป็นที่ว่าง วางทับไปบนตัวหนังสือก็จะเห็นตัวหนังสือนั้นๆ)

Fragment (รูป E)

รูป E ผลที่เกิดขึ้นจากคำสั่ง Fragment

Intersect (รูป F)

รูป F ผลที่เกิดขึ้นจากคำสั่ง Intersect

Subcontract (รูป G)

รูป G ผลที่เกิดขึ้นจากคำสั่ง Subcontract

สังเกตว่าการเลือกรูปไหนก่อนไหนหลังจะมีผลกับรูปทรงสุดท้ายที่ได้ด้วย

เห็นมั๊ยคะว่าใช้ง่ายมากเลย คราวนี้เราก็สร้างรูปทรงแปลกตาได้ตามใจแล้วค่ะ

คำถามชวนคิด

แล้วถ้ามีรูปทรงมากกว่า 2 รูป เมื่อใช้ชุดคำสั่งของ Shape แล้วจะเป็นอย่างไร

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ