วันนี้มาคุยกันเรื่องสั้นๆ ว่าด้วยอาการติด Bullet Points 

มาเช็คอาการกันค่ะ 

ว่าใครเป็นอย่างนี้บ้าง

More...

การตรวจสอบอาการเบื้องต้น

ขั้นที่ 1 สแกนจำนวนสไลด์ที่มี bullet points ในสไลด์ 1 ชุด

หากมีสไลด์ bullet points มากกว่าครึ่ง แสดงว่าเราค่อนข้างติด bullet points หากมากกว่า 80% แสดงว่าอาการหนักค่ะ (ตัวอย่างในรูป A)

ขั้นที่ 2 ตรวจสอบว่า bullet points ในชุดสไลด์ของเรามีกี่แบบ

หากเราหลงไหลใน bullet points มีแนวโน้มสูงที่เราจะใส่ bullet points หลากหลายแบบเข้ามาในสไลด์ของเรา ยิ่งหากเราเข้าไปเลือกประเภทของ bullet points ให้เป็นแบบ pattern แสดงว่าเราชอบใช้ bullet points และอยากเห็น bullet points ของเรามีสไตล์ไม่เหมือนใคร (ตัวอย่างในรูป B)

หากพบว่าเรามี bullet points มากกว่า 3 แบบในชุดสไลด์ แสดงว่าเราค่อนข้างติด bullet points

หากพบว่าเรามี buleet points มากกว่า 5 แบบ ขึ้นไป ในชุดสไลด์ ใช่ค่ะ เราติด bullet points มากค่ะ

ขั้นที่ 3 ตรวจสอบว่าในสไลด์ที่มีแค่ย่อหน้าเดียว แต่เราใช้ bullet points หรือเปล่า 

ตัวอย่างในรูป C

หากใช้บ้าง (1-2 สไลด์) แบบหลงๆ มา และมีสไลด์ย่อหน้าเดียวที่ไม่มี bullet points เป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าเราค่อนข้างติด bullet points เลยลืมที่จะเอาเขาออก

หากพบบ่อย (มากกว่า 2 สไลด์ขึ้นไป) แสดงว่าเราติด bullet points มาก และไม่สนใจจะเอาเขาออก

ทางเลือกอื่นของ bullet points

มีหลายทางเลือกเลยค่ะ ทั้ง icon ตาราง การแบ่งด้วยเส้นง่ายๆ ลองอ่านโพสต์นี้ได้ค่ะ (7 ไอเดียในการปรับปรุงสไลด์ bullet points ให้ไฉไลกว่าเดิม)  มีตัวอย่างให้ดูถึง 7 ทางเลือกด้วยกันเลยค่ะ

คำถามชวนคิด

ประเมินแล้ว เราติด bullet points แค่ไหนคะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ