January 13, 2018

ก่อนเริ่มวันทำงาน เรามักตั้งใจไว้ว่าวันนี้จะทำงานอะไรบ้าง แต่พอลงมือทำจริง เดี๋ยวก็มีโทรศัพท์มา e-mail ก็เด้งขึ้นมา ไม่ก็แว่บไปเช็ค facebook หน่อย พอพิมพ์งานไปได้ 3 บรรทัด ก็อดไม่ได้ที่จะเปิด pantip มาดูว่าเรื่องไรกำลังมา …

สรุปสุดท้าย ทำงานไปได้หน่อยก็หมดวันซะแล้ว พอหอบงานกลับไปทำที่บ้าน อาการเดิมก็ตามมาอีก…

จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีสมาธิ ไม่วอกแวก ทำงานเสร็จเร็ว …. สบาย….

ลองมาอ่านหนังสือเล่มนี้กันค่ะ… หากทำตามได้รับรองปัญหาข้างบนหมดไปแน่นอน…

ชื่อหนังสือ: Deep Work – Rules for focused success in a distracted world

ผู้เขียน: Cal Newport

Deep Work คือ อะไร ทำงานแบบ Deep? หรือว่าอะไร?

ผู้เขียนให้คำจำกัดความไว้ว่า Deep work คือ ภาวะที่เราทำงานแล้วมีสมาธิมากๆ จดจ่อกับสิ่งตรงหน้า สมองอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะคิดแล้วไหลไปกับงานได้

ขณะที่งานซึ่งตรงกันข้าม คือ Shallow work เป็นงานที่ไม่ต้องใช้สมองมากนัก มีผลกระทบน้อย แต่เป็นสิ่งที่เข้ามาขัดจังหวะเป็นพักๆ เช่น รับโทรศัพท์ ส่ง e-mail เป็นต้น

หากดูจากคำจัดกัดความข้างต้น จะเห็นว่าช่วงเวลาจริงๆ ที่จะทำให้เราทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิผล คือ ช่วงเวลาที่เราทำงานในภาวะ Deep Work

คำถาม คือ แล้วเราจะทำให้เกิดภาวะนั้นได้อย่างไร? ลองมาดูกันค่ะ

ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ส่วนหลัก คือ The Idea ในส่วนที่หนึ่ง กับ The Rule ในส่วนที่สอง โดยเนื้อหาส่วนแรกจะเน้นเรื่องเล่าและการจูงใจเราว่าการทำงานแบบ Deep Work นั้นดียังไง ส่วนที่สอง จะเป็นแก่นหลักของหนังสือที่พูดถึงกฎ 4 ข้อ ที่จะช่วยเราไปสู่ Deep Work ประกอบด้วย

  1. Work deeply
  2. Embrace boredom
  3. Quit social media
  4. Drain the shallow

โดยเนื้อหาหลักๆ จะอยู่ในกฎข้อที่ 1 คือ Work Deeply

ผู้เขียนบอกว่ารูปแบบในการนำ Deep work มาใช้นั้นมีอยู่ 4 แบบ และแต่ละคนก็ต้องหากันเองว่าตัวเองเหมาะกับแบบไหน

  1. Monastic หายไปทีหลายๆ เดือน ไปอยู่ในที่ที่จะทำ deep work ได้ – ปลีกวิเวกแบบยาวๆ
  2. Biomodal แบ่งเวลาอาจจะ 2-3 วัน ใน 1 สัปดาห์ เพื่อสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work
  3. Rhythmic ใช้เวลาเดิม ในทุกวัน เพื่อสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work โดยหัวใจสำคัญ คือ ความสม่ำเสมอ
  4. Journalistic เป็นพวกที่สามารถแบ่งสมาธิได้ดี คือสร้างภาวะการทำงานแบบ Deep Work ได้ในช่วงเวลาว่างแล้วแต่จะมีเวลา

ในการจะทำให้ Deep work เป็นนิสัย หรือ เข้าถึงได้เร็ว สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้ คือ การสร้างพิธีกรรม (make it ritual) เหมือนเป็นการให้สัญญาณกับสมองว่าจะเริ่มแล้วนะ ในการสร้างพิธีกรรมนี้ เราอาจใช้คำถาม 3 ข้อ ในการช่วยคิดได้ คือ

  • Where you will work and for how long? สถานที่พิเศษ (หรือแค่ปิดประตูห้อง)
  • How you will work once you start to work? เช่น ไม่มีการใช้อินเตอร์เน็ตในช่วงนี้ หรือจะแปลให้ได้ 4 slide ในทุก 10 นาที
  • How you will support your work? เช่น เริ่มต้นด้วยกาแฟสักแก้ว (ทำให้สมองผ่อนคลายและเตรียมเข้าสู่ภาวะ deep work)

แต่ที่พูดมาทั้งหมดนั้น เรารู้แค่ว่าเราต้องทำอะไร แต่เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ การแนะนำว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งผู้เขียนใช้วิธีที่ดัดแปลงมาจาก The 4 Disciplines of Execution มาใช้ ในการทำให้เกิดการทำงานในภาวะ Deep Work อย่างแท้จริงและยั่งยืน ประกอบด้วย

  1. Focus on the wildly important เลือกสิ่งที่สำคัญจริงๆ มาทำ
  2. Act on the lead measures -> lag measure เป็นตัววัดสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 1 เล่ม เมื่อมา review ก็แก้ไรไม่ได้ lead measure เป็นตัววัดสิ่งที่กำลังทำ เช่น จำนวนชั่วโมงที่จะอ่านหนังสือแบบ deep work
  3. Keep a compelling scoreboard การสร้าง chain บนปฏิทิน โดยกากากบาทลงบนวันที่ที่เราทำงานแบบ Deep Work ก็เป็นเทคนิคที่ดี ถ้าเราทำต่อๆ กันไป ก็จะกลายเป็นรูป “โซ่” อยู่บนปฏิทิน สิ่งที่เราต้องทำ คือ อย่าทำให้โซ่ขาด นอกจากนี้สิ่งที่อยู่บน scoreboard (ตัวชี้วัดที่เขียนไว้ให้เห็นชัดเจน) ควรเป็น lead measure
  4. Create a cadence of accountability การรีวิวผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่อง

สำหรับเนื้อหาของกฎข้อที่ 2 ก็น่าสนใจ เพราะพูดถึงวิธีการจัดการกับสิ่งที่เข้ามาขัดจังหวะการทำงานของเรา หรือสิ่งเย้ายวนใจให้เราไปทำ (มากกว่าทำงาน) วิธีที่ผู้เขียนแนะนำให้ทำ คือ

Don’t take breaks from distraction. Instead take breaks from focus. เราต้องอดทนต่อสิ่งล่อใจ เช่น เช็ค fb เวลารอนู่นรอนี่ เพื่อลดการติด distraction ต้องทนที่จะเบื่อได้

สำหรับกฎข้อ 3 และ 4 โดยส่วนตัว เราว่าจะเริ่มวนๆ และซ้ำกับ 2 กฎแรก เลยไม่ได้สรุปไว้

ความเห็นส่วนตัว

โดยรวมชอบหนังสือเล่มนี้นะคะ อ่านสนุกดี ผู้เขียนเล่าเรื่องเก่งมาก หากตัดเรื่องเล่าออกอาจเหลือเนื้อหาแค่ 20% แต่เรื่องเล่าพวกนี้ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนพูดได้ดีขึ้น (แต่ก็ยังคงคิดว่าน่าจะตัดออกไปบ้าง)

ใช้แล้วได้ผลมั๊ย?

เราลองใช้มาประมาณอาทิตย์นึง เห็นผลค่อนข้างชัดนะคะ มีสมาธิมากขึ้น ทำงานเสร็จได้เยอะขึ้น จังหวะในการคิดและการทำงานไหลลื่นขึ้น

หากให้แนะนำ… น่าลองหามาอ่านค่ะ หากไม่อ่านทั้งเล่ม ก็อาจอ่านเป็นพวก Summary ก็ได้ค่ะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Everyday Business Storytelling
รีวิวคอร์สออกแบบสไลด์สไตล์คนงานยุ่ง