สิ่งหนึ่งที่เราทำไปโดยไม่รู้ตัวเวลาเรามอง รูปภาพ กราฟฟิก หรือแม้แต่ Slide (ที่มีตัวอักษร หรือ รูปภาพ หรือ กราฟฟิก หรือทั้งหมดผสมกัน) คือ เราพยายามมองหา “pattern (รูปแบบ)” ซึ่งหากเราออกแบบ patternในกราฟฟิก หรือ  slide ของเราให้เหมาะสม ผู้อ่าน/ผู้ฟังจะสามารถมองเห็น pattern นั้นๆ และตีความสิ่งที่เราจะสื่อได้ง่ายขึ้น

Gestalt Principle เป็นหลักการที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้กันมากในการออกแบบกราฟฟิกและ slide โดยมีด้วยกัน 6 ข้อ คือ

1 Proximity (ความใกล้กัน) อะไรที่อยู่ใกล้กัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

2 Similarity (ความคล้ายคลึงกัน)อะไรที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็น สีเดียวกัน รูปร่างเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน หรือจัดวางอยู่ในลักษณะเดียวกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

3 Enclosure (การถูกล้อมกรอบ) อะไรที่ถูกล้อมกรอบไว้ด้วยกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

4 Closure (การปิดล้อม) เรามีแนวโน้มที่จะเติมส่วนที่ขาดหายไป เช่น เส้นที่ขาด เพื่อมองออกมาให้เป็นรูปที่สมบูรณ์ เช่น เส้นปะรูปลูกศร เราก็มองเป็นลูกศร เป็นต้น

5 Continuity (ความต่อเนื่อง) วัตถุที่ซ้อนกันอยู่ เรามองวัตถุนั้นๆ แยกออกเป็นวัตถุแต่ละชิ้นที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ตัวอย่างเช่น รูปด้านซ้าย ในความคิดของเรา เรามองเป็นสี่เหลี่ยมและเส้นที่คดเคี้ยวแต่ต่อเนื่อง (รูปขวาบน) เราไม่ได้มองเป็นสี่เหลี่ยมและเส้นที่ขาดกลาง (รูปขวาล่าง)

6 Connection (ความเชื่อมต่อ) อะไรที่มีความเชื่อต่อกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

ตัวอย่างที่นิยมใช้ เช่น การนำ legend ของเส้นกราฟมาวางต่อท้ายหรือวางไว้ใกล้กับกราฟเส้นนั้นๆ แทนที่จะใช้ legend ตาม default ของ Excel ที่วาง legend ไว้ในกล่องด้านล่างของกราฟ เป็นต้น

ลองกลับไปดู slide หรือ chart ที่เราเคยทำไว้ จะเห็นว่าเราเอา Gestalt principle มาใช้กันบ่อยเลยค่ะ นอกจากนี้การจัดกลุ่มโดยใช้ Gestalt principle ยังช่วยให้ slide และ chart ของเราดูสบายตาขึ้นอีกนะคะ ลองเอาไปใช้กันดูค่ะ…

 

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ