“ญี่ปุ่น” ชื่อนี้เป็นอะไรหลายอย่าง...

ดินแดนแห่งซากุระ

ความโรแมนติกยามใบไม้เปลี่ยนสี

รถไฟใต้ดินที่เต็มไปด้วย Salary Man ในชุดสูทสีดำ

เทคโนโลยีสุดล้ำที่กลมกลืนไปกับความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม

แต่...

เพื่อให้สอดคล้องกับเพจของเรา... 

อิงขอนิยามว่า...

“ญี่ปุ่น” เป็นดินแดนสวรรค์ของนักอ่านค่ะ 

ว่าแล้ว เราก็ไปเยี่ยมชมร้านหนังสือกัน

ไปดูว่าเขามีขายอะไรกันบ้าง...

More...

สวรรค์น้อยๆ ของนักอ่าน

ร้านหนังสือญี่ปุ่นน่าตื่นตาตื่นใจมาก เป็นสวรรค์น้อยๆ ของคนรักหนังสือ แบบว่าไม่อยากกลับ อยากนอนในร้านเลยได้มั๊ย...

ทริปล่าสุด อิงแวะไปคุ้ยหนังสือในร้านหนังสือ 2 ร้านใหญ่ 1 ร้านเล็ก รวมถึงได้สอดส่ายสายตาเข้าไปในร้านหนังสืออีกหลายร้านมากที่ผ่านทาง แต่ไม่สามารถแวะเวียนเข้าไปคุ้ยได้ เพราะเดี๋ยวจะไม่ได้ไปไหนต่อ เรื่องทั่วไปที่สังเกตได้ คือ

  • ร้านหนังสือมักมี section เครื่องเขียนขายควบคู่กันไปด้วย (ใหญ่บ้างเล็กบ้างตามแต่ว่าจะเน้นมากน้อยแค่ไหน) 
  • หมวดหมู่ที่แบ่งก็แยกย่อยไปเยอะมาก (อารมณ์คล้ายๆ Kinokuniya ที่เป็นร้านญี่ปุ่นในบ้านเรา) มีแผ่นกั้นเสียบบอกหมวดหมู่ละเอียดยิบ
  • หนังสือมีความหลากหลายมาก โดยส่วนนึงเลยเน้นไปเรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบเฉพาะทาง เช่น หนังสือร้อยลูกปัด เย็บรองเท้า เย็บกระเป๋าหนัง กระเป๋าผ้า การชงกาแฟแบบเจาะลึก การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น
  • หนังสือแปลมีอยู่พอสมควร แต่หนังสือที่เขียนโดยคนญี่ปุ่นเยอะกว่ามาก (สำหรับบ้านเรา Trend ที่มาแรง คือ เอาหนังสือมาแปลขาย)
  • หนังสือคอมพิวเตอร์และ AI เยอะมาก อย่างเรื่อง wordpress กับ phyton ที่ไม่ค่อยเห็นกันนักในไทย ที่นู่นมีให้เลือกหลายสิบปกกันเลยทีเดียว เรื่อง Blockchain ก็มีพอสมควร รวมถึงเรื่องทันสมัยอย่าง Libra ก็มีให้เห็น

หนังสือด้านการนำเสนอ

เล่ามาตั้งนาน แล้วตลาดหนังสือด้านการนำเสนอหละ...

อือม... ถ้าให้สรุปสั้นๆ คงต้องบอกว่า มีมากกว่าบ้านเราเยอะหลายเท่าตัว ทั้งเรื่องของความหลากหลายและจำนวนหนังสือ 

หนังสือด้านการนำเสนอที่ผ่านตา (ตื่นตาตื่นใจ เลยไปเปิดพลิกดูมันทุกเล่ม... อย่าถามว่าอ่านออกมั๊ย -> อ่านไม่ออกจ้า ใช้ Google Translate ช่วย กับพอดูจากรูปก็พอจะเดาได้) แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. 1
    หนังสือสอนใช้ PowerPoint: หนังสือกลุ่มนี้จะคล้ายๆ กับหนังสือสอนใช้ PowerPoint ของบ้านเรา คือ สอนการใช้งานขั้นเริ่มต้น เช่น เปิดไฟล์ เซฟไฟล์ เป็นต้น รวมไปจนถึงการใช้คำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม
  2. 2
    หนังสือสอนการทำสไลด์ให้สื่อความได้ดีขึ้น: หนังสือกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การออกแบบสไลด์ให้สวยงามและสื่อความได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นหนังสือกลุ่มที่เห็นน้อยมากในไทย (หนังสือในกลุ่มนี้มีหนังสือแปลมากกว่าหนังสือที่คนไทยเขียนอีกค่ะ) ที่น่าสังเกต คือ หนังสือสไตล์นี้มียี่สิบกว่าปกได้ แต่รูปแบบการนำเสนอค่อนข้างคล้ายกัน คือ แบ่งเป็นบทเรียนย่อยๆ (จำนวนมาก) และในแต่ละบทเรียนจะขึ้นต้นด้วยคำอธิบาย และตัวอย่างสไลด์เปรียบเทียบ before และ after ของสไลด์ พร้อมคำอธิบายว่าตรงไหนไม่ดี แล้วต้องปรับปรุงอย่างไร ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ แทบทุกเล่มจะต้องมีส่วนที่เกี่ยวกับ Chart ต่างๆ ประกอบอยู่ด้วย (บางเล่มกินเนื้อที่มากกว่าครึ่งเล่มเลยทีเดียว) อาจเป็นเพราะการนำเสนอในญี่ปุ่นเน้นการนำเสนอข้อมูลในรูป Chart และ Diagram นั่นเอง
  3. 3
    หนังสือสอนการพูดนำเสนอให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น: หนังสือกลุ่มนี้ ตัวหนังสือเยอะมากค่ะ (แทบไม่มีรูปเลย) ในไทยเองจะมีหนังสือกลุ่มนี้อยู่บ้าง (มากกว่ากลุ่มที่ 2 ด้วยซ้ำไป) แต่เนื่องจากไม่สามารถเข้าใจเนื้อหา เลยเปรียบเทียบไม่ได้จ้า

สุดท้าย อิงก็แบกกลับบ้านมาหลายเล่มค่ะ แอบโชว์ส่วนนึงไว้ในรูปข้างล่างค่ะ (ช่วงอวดของ อีกแล้ว) 

ถ้าใครได้ไปญี่ปุ่น อย่าลืมแวะเวียนไปส่องความละลานตาในร้านหนังสือของเขากันด้วยนะคะ

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Everyday Business Storytelling