เมื่อวานคุณนั่งหาข้อมูลในเน็ตอยู่...

เปิดไปเปิดมา เลยไปเห็นเทคนิคใหม่ในโพสต์นึง มันเจ๋งมาก เขาใส่รูปภาพเข้าไปในกราฟแท่ง

สวย ทันสมัย ทำให้สไลด์โดดเด่น

ว่าแล้วคุณเลยเอามาใช้บ้าง…

แต่เดี๋ยวก่อน...

คุณแน่ใจแล้วหรือเปล่า?

เพราะเขาไม่ได้แนบคำเตือนมาด้วยว่า 

"โปรดใช้ด้วยความระมัดระวัง"

เราอาจเห็นกราฟแบบนี้บ่อยขึ้นทั้งใน Blog Post และ หนังสือเกี่ยวกับการนำเสนอ

แต่...

มันคือหลุมพรางของการนำเสนอ (ค่ากราฟ) ที่ลดประสิทธิภาพของการสื่อสารลงอย่างน่าตกใจ

จริงเท็จอย่างไร...

มาค่ะ อิงจะพาไปดูให้ถึงแก่น พร้อมขยายความปัญหาให้ฟัง

More...

พื้นฐาน 1: การอ่านค่าของกราฟแท่ง

โดยปกติกราฟแท่งจะอ่านค่าจากความยาวของกราฟแท่งเทียบกับสเกล (X หรือ Y ขึ้นอยู่ว่าเป็นกราฟแท่งแบบนอนหรือแบบตั้ง)

พื้นฐาน 2: การดัดแปลงกราฟแท่งเพื่อการนำเสนอ

เมื่อเราจะนำเสนอกราฟแท่งในสไลด์ กราฟแท่งสมัยใหม่จะถูก simplify เพื่อช่วยให้ผู้ฟังการนำเสนอ โดย (ตัวอย่างในรูป A)

  • เอา mark ตัวเลขบนแกนออก เปลี่ยนเป็นตัวเลขบนแท่งกราฟแทน
  • เอาแกน X หรือ Y หรือทั้งสองแกนออกt
  • เปลี่ยนสีของแท่งกราฟให้เหมือนกัน
  • ใช้สีที่แตกต่าง 1-2 สี เพื่อให้ข้อมูลที่เราต้องการนำเสนอเด่นออกมา

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใส่รูปภาพในกราฟแท่ง

ในการออกแบบสไลด์เริ่มมีการนำรูปภาพใส่เข้ามาในกราฟแท่ง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของกราฟ (เข้าใจว่ามีแรงบันดาลใจมากจากงาน Graphic Design ทั้งหลาย) อิงลองหาดูใน pinterest มีหลายตัวอย่างเลยค่ะ (รูป B)

แน่นอนค่ะว่ารูปภาพช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับกราฟจริง แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ เราจะ focus ที่รูปภาพมากกว่าตัวกราฟ และเมื่อเราพยายามมองตัวกราฟ จะรู้สึกไม่สบายตา 

มาทดสอบกันค่ะ

ในรูป C แสดงจำนวนขนมที่จริงใจ (น้องหมา) กินในแต่ละเดือน คุณลองตอบคำถามต่อไปนี้ค่ะ

  1. 1
    เดือนเมษายนจริงใจกินขนมไปกี่แท่ง
  2. 2
    เรียงลำดับเดือนที่จริงใจกินขนมจากมากไปน้อย

(เฉลย ข้อ 1 เท่ากับ 65 แท่ง ข้อ 2 เรียงลำดับได้ดังนี้ Jan May Mar Apr Jun Feb)

เอาใหม่ค่ะ ลองเปรียบเทียบกราฟสองแบบในรูป D แล้วตอบคำถามใหม่ 

สังเกตอะไรมั๊ยคะ

กราฟแท่งแบบธรรมดาใช้เวลาในการตอบคำถามน้อยกว่า และสบายตาในการมองมากกว่า

ปัญหาของกราฟแท่งแบบรูปภาพ

ถึงแม้ว่ากราแฟแท่งแบบรูปภาพจะมีความสวยงาม หน้าตาทันสมัย แต่ว่าปัญหาใหญ่ของกราฟแท่งแบบนี้ (ตรวจสอบปัญหาด้วยตาคุณเองในรูป E) คือ 

  • แต่ละองค์ประกอบแย่งกันเด่น: แทนที่เราควรอ่านค่าหรือเปรียบเทียบกราฟด้วยความสูง กลายเป็นว่าสายตาของเราถูกรูปภาพในแท่งกราฟดึงดูดไปซะแล้ว หรือเมื่อจะอ่านค่าจากตัวเลข สายตาของเราก็อดมองไปที่รูปภาพไม่ได้
  • สมองและสายตาต้องประมวลผลเยอะ: เพราะตาของเราเอาแต่จะจ้องรูปภาพ ดังนั้นในการประมวลผลสมองและสายตาต้องทำงานหนักขึ้นมาก เมื่อยตากันเลยทีเดียว
  • เสียโอกาสในการ highlight สิ่งสำคัญ: การใช้สีที่แตกต่างเป็นการดึงดูดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เราต้องการเน้น ซึ่งพอใช้รูปภาพเราอาจยัง highlight ได้ แต่ความโดดเด่นก็ไม่เท่ากับการใช้สีอย่างเดียว 
  • จริงใจ (น้องหมา) มีสายตาเว้าวอนเกินไป: เราจึงไม่อาจละสายตาไปจากเขาได้ (ที่จริงรูปภาพที่ใช้ก็มีผลค่ะ ถ้าเป็นรูปคน รูปสัตว์ เราอดไม่ได้ที่จะสบสายตากับเขา)

สรุป

ปัจจุบันการสร้างสรรค์สไลด์พัฒนาไปมากกว่า Bullet Poins พื้นๆ เยอะมาก แบบไม่เห็นฝุ่น ปัญหานึงที่ตามมา คือ เส้นแบ่งบางๆ ระหว่างการออกแบบสไลด์กับการตกแต่งสไลด์ก็จางลงเรื่อยๆ จนบางครั้งกลายเป็นเราตกแต่งสไลด์มากเกินความจำเป็น ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพซะงั้น

รูปภาพในกราฟแท่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนปัญหาเรื่องการตกแต่งสไลด์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากจะใช้กราฟแท่งที่มีรูปภาพข้างใน ขอให้คิดให้รอบคอบก่อนนะคะ ว่ากราฟของเรายังคงสื่อสารได้ตามเป้าหมายที่เราต้องการอยู่หรือเปล่า 

อย่าลืมว่ากราฟบนสไลด์ต่างจากกราฟในสิ่งพิมพ์อื่น

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ