สิ่งหนึ่งที่เราทำไปโดยไม่รู้ตัวเวลาเรามอง รูปภาพ กราฟฟิก หรือแม้แต่ Slide (ที่มีตัวอักษร หรือ รูปภาพ หรือ กราฟฟิก หรือทั้งหมดผสมกัน) คือ เราพยายามมองหา “pattern (รูปแบบ)” ซึ่งหากเราออกแบบ patternในกราฟฟิก หรือ slide ของเราให้เหมาะสม ผู้อ่าน/ผู้ฟังจะสามารถมองเห็น pattern นั้นๆ และตีความสิ่งที่เราจะสื่อได้ง่ายขึ้น
Gestalt Principle เป็นหลักการที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้กันมากในการออกแบบกราฟฟิกและ slide โดยมีด้วยกัน 6 ข้อ คือ
1 Proximity (ความใกล้กัน) อะไรที่อยู่ใกล้กัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
2 Similarity (ความคล้ายคลึงกัน)อะไรที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็น สีเดียวกัน รูปร่างเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน หรือจัดวางอยู่ในลักษณะเดียวกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
3 Enclosure (การถูกล้อมกรอบ) อะไรที่ถูกล้อมกรอบไว้ด้วยกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
4 Closure (การปิดล้อม) เรามีแนวโน้มที่จะเติมส่วนที่ขาดหายไป เช่น เส้นที่ขาด เพื่อมองออกมาให้เป็นรูปที่สมบูรณ์ เช่น เส้นปะรูปลูกศร เราก็มองเป็นลูกศร เป็นต้น
5 Continuity (ความต่อเนื่อง) วัตถุที่ซ้อนกันอยู่ เรามองวัตถุนั้นๆ แยกออกเป็นวัตถุแต่ละชิ้นที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ตัวอย่างเช่น รูปด้านซ้าย ในความคิดของเรา เรามองเป็นสี่เหลี่ยมและเส้นที่คดเคี้ยวแต่ต่อเนื่อง (รูปขวาบน) เราไม่ได้มองเป็นสี่เหลี่ยมและเส้นที่ขาดกลาง (รูปขวาล่าง)
6 Connection (ความเชื่อมต่อ) อะไรที่มีความเชื่อต่อกัน จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
ตัวอย่างที่นิยมใช้ เช่น การนำ legend ของเส้นกราฟมาวางต่อท้ายหรือวางไว้ใกล้กับกราฟเส้นนั้นๆ แทนที่จะใช้ legend ตาม default ของ Excel ที่วาง legend ไว้ในกล่องด้านล่างของกราฟ เป็นต้น
ลองกลับไปดู slide หรือ chart ที่เราเคยทำไว้ จะเห็นว่าเราเอา Gestalt principle มาใช้กันบ่อยเลยค่ะ นอกจากนี้การจัดกลุ่มโดยใช้ Gestalt principle ยังช่วยให้ slide และ chart ของเราดูสบายตาขึ้นอีกนะคะ ลองเอาไปใช้กันดูค่ะ…