'สี’ เป็นอะไรที่แปลกอย่างหนึ่งในการออกแบบสไลด์ บางคนก็ไม่สนใจเลย ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าเราเลือกสีได้ โปรแกรมให้ default อะไรมาก็ใช้อย่างนั้น สวยดีอยู่แล้ว ขณะที่บางคนให้ความสำคัญมาก เลือกแล้วเลือกอีก แต่ยิ่งพอเลือกมากก็ปวดหัวมาก...

คำถาม คือ เราจะเลือกชุดสีอย่างไรให้โดนใจทั้งเราและคนฟัง

More...

แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ว่าแต่ทำไมเราถึงต้องเลือกสีหละ ทำไมเราถึงไม่ควรใช้ชุดสี default ของโปรแกรม

ข้อเสียของการใช้ชุดสี Default ในโปรแกรม

ชุดสี default ของโปรแกรม Powerpoint จะขึ้นอยู่กับคุณใช้ Microsoft Office รุ่นอะไร ที่จริงแล้วชุดสี default ที่ Microsoft เลือกให้เราสวยงามทีเดียว แต่ละสีตัดกันได้ดี แต่มันมีข้อเสียอยู่นิดหน่อยค่ะ

  1. 1
    ไม่แตกต่าง: ใครๆ ก็ใช้ default อย่างที่บอกค่ะ คนกลุ่มแรกไม่เคยเปลี่ยนสี คนกลุ่มนี้มีจำนวนมาก หากเราเป็นหนึ่งในนั้น สไลด์เราก็จะเหมือนคนอื่น ไม่แตกต่างค่ะ (ดังนั้นหากอยากจะโดดเด่น ต้องเลือกชุดสีที่ไม่เหมือนคนอื่นค่ะ)
  2. 2
    สีแย่งกันเด่น: สี default ตัดกันค่อนข้างมาก หากใช้แค่ 1-2 สี ก็จะกำลังดี แต่ถ้าเราใช้ครบทั้ง 6 สี ที่ให้มา เนื้อหาในสไลด์เราจะแย่งกันเด่นค่ะ พุ่งใส่ตาคนฟังแบบไม่มีใครยอมใครเลย

แล้วเราควรเลือกชุดสีอย่างไร?

การเลือกใช้ชุดสีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น องค์กร เนื้อหา ผู้ฟัง ลักษณะห้องที่เรานำเสนอ และอื่นๆ มาดูวิธีการเลือกสีที่นิยมใช้กันค่ะ

  1. 1
    ชุดสีขององค์กร: หากเราอยู่ในองค์กรที่มีสีบังคับ เราก็ต้องใช้ตามนั้น ข้อดีของการใช้สีขององค์กร คือ ความสม่ำเสมอในการสื่อสาร (ใครเห็นก็รู้ว่าเป็น presentation ขององค์กรเรา) ยกตัวอย่างในรูป A ค่ะ ลองทายดูว่า presentaiton ที่เห็นเป็นของยักษ์ใหญ่มือถือของไทย ใครเป็นใครทายถูกมั๊ยคะ
  2. 2
    ชุดสีของอุตสาหกรรม: บางอุตสาหกรรมจะมีสีที่ชัดเจนอยู่ คือ เห็นแต่สีก็รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร เช่น ถ้าพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม คนจะคิดถึงสีเขียว เป็นต้น เราก็เลือกสีเขียวแล้วค่อยมาเลือกว่าจะเอาเฉดไหน
  3. 3
    ชุดสีจากรูปที่เราใช้ใน presentation: สิ่งหนึ่งที่ควรทำ คือ รูปที่ใช้ใน Presentation ของเรา ควรจะไปในทิศทางเดียวกัน (คุมโทนสีที่ใช้) หากเรากำหนดโทนสีของรูปได้แล้ว เราสามารถนำรูปนั้นมาหาสีที่เข้ากันเพื่อเป็นชุดสีของ theme ที่เราจะใช้ใน Presentation ได้ (ตัวอย่างในรูป B)
  4. 4
    ชุดสีเพื่อสร้างการรับรู้ของผู้ฟัง: โดยปกติในการนำเสนอ เราจะมีเป้าหมายว่าต้องการให้ผู้ฟังรับรู้เรื่องอะไร (บางคนลงรายละเอียดแม้กระทั่งอยากให้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร) ดังนั้นการใช้ชุดสีที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเราและการรับรู้ของผู้ฟังถือเป็นวิธีการเลือกสีที่ดีมาก หากเราไม่ถูกบังคับด้วยข้อ 1 และ 2 เช่น หากเราต้องการให้การนำเสนอของเรารู้สึกสดชื่น เราอาจเลือกใช้ชุดสีที่สดใส เช่น สีส้ม สีฟ้าใส เป็นต้น แทนที่จะใช้ชุดสีที่เป็น Earth tone (น้ำตาล เทา และอื่นๆ) ข้อควรระวัง คือ การตีความสีของคนแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน เช่น สีแดงในสังคมจีนหมายถึงความรุ่งเรือง ความโชคดี แต่สีแดงสำหรับคนส่วนหนึ่ง หมายถึง ความร้อนแรง และอันตราย เป็นต้น

คำถามชวนคิด

ครั้งหน้าในการทำ Presentation เราจะเลือกชุดสีแบบไหนดีคะ

อย่าลืมอ่านภาคต่อใน

"3 ข้อควรระวังในการใช้สี"

แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ต่อค่ะ

"การใช้สีเพื่อสื่อความในกราฟ"

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ