กูรูชื่อดังทั้งหลายต่างแนะนำให้...

เราใช้รูปภาพช่วยสื่อความในการนำเสนอ

แต่...

การใช้รูปภาพในสไลด์ก็มีเทคนิค

ไม่ใช่แค่หารูปที่ใช่แล้วใส่ลงในสไลด์

เพราะเมื่อยู่ในสไลด์แล้วอาจไม่สวยอย่างที่เราคิด

หรือมันธรรมดาเกินไป

หรือหากเราใช้ stock photo ยอดนิยมก็อาจเจอฝาแฝดได้

แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ 

ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก

มาดูกันค่ะ...

ว่ามีเทคนิคอะไรบ้างที่ช่วยสร้าง...

ความต่างและโดดเด่นให้กับรูปภาพในสไลด์ของเรา

More...

#1 Crop รูปเพื่อเน้นองค์ประกอบของรูปที่เราต้องการสื่อให้เด่นขึ้น

เทคนิคแรกนั้นง่ายมากค่ะ คือ การ Crop รูปเพื่อตัดส่วนเกินของรูปที่เราไม่ต้องการออก และเน้นองค์ประกอบของรูปที่เราต้องการสื่อให้เด่นขึ้น 

หา... อะไรนะ

Crop รูปภาพต้องทำยังไงหรอ?

ง่ายมากเลยค่ะ สามารถดูได้จาก Tutorial ยอดนิยมของเรา เรื่องการใช้คำสั่ง Crop ได้เลย (คลิกที่นี่)

จากรูป A เราจะเห็นว่าในสไลด์ด้านซ้าย รูปการก่อสร้างสมัยโบราณดูมีองค์ประกอบค่อนข้างเยอะ อิงเลยใช้คำสั่ง Crop เพื่อเน้นช่างก่อสร้างทางด้านซ้ายของรูปใ้ห้น่าสนใจขึ้น

#2 ใช้เส้นบางๆ แบ่งรูปออกเป็น 3 ส่วน

เทคนิคนี้ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องดูความเหมาะสมกับเนื้อหาที่เราต้องการสื่อด้วย แถมถ้ามีที่ว่างที่เหมาะสม เราสามารถใส่คำอธิบายประกอบได้อีกด้วย 

ดังตัวอย่างในรูป B ที่เรานำรูปช่างก่อสร้างมาแค่เส้นแบ่งลงไป และใส่คำอธิบายลงในพื้นที่ว่าง (ดูเป็นสัดเป็นส่วนดีค่ะ)

#3 ปรับโทนสีของรูปภาพ

เทคนิคนี้อิงใช้บ่อยเมื่อรูปภาพที่เอามาใช้ในชุดสไลด์สีแตกต่างจากชุดสีของสไลด์มากเกินไป หรือเมื่อต้องเอารูปหลายๆ รูปมาเรียงด้วยกันแล้วสีมันโดดเกินไป โดยโทนสีที่อิงมักปรับ คือ ปรับเป็นโทนสีเทา

ดังตัวอย่างในรูป C ที่เรานำรูปช่างก่อสร้างมาทำเป็นโทนสีเทา

#4 ใช้ Picture Effect ในการแต่งรูปอย่างง่าย

เทคนิคนี้ก็ทำได้ง่ายอีกเช่นกัน Effect ที่ PowerPoint ให้มาก็มีหลากหลาย และแน่นอนเราต้องพิจารณาความเหมาะสมกับเนื้อหาที่เราต้องการสื่อด้วย 

ดังตัวอย่างในรูป D ที่เรานำรูปช่างก่อสร้างมาปรับด้วย Paint Brush Effect

#5 ทำให้รูปภาพที่เป็นตัวคน สัตว์ และสิ่งของ กลายเป็นภาพเงาดำ (silhouette)

เทคนิคนี้ซับซ้อนนิดหน่อยค่ะ โดยต้องเริ่มจากการแยกคน/วัตถุที่เราต้องการสร้างเป็นเงาดำออกจากฉากหลังก่อน (ดู Tutorial Remove Background ได้ที่นี่

จากนั้นปรับ Brightness ให้เป็น -100% ด้วยคำสั่ง Picture Format เพื่อทำให้คน/วัตถุนั้นกลายเป็นเงาดำ 

ดังตัวอย่างในรูป F ที่เรานำรูปจริงใจ (น้องหมา) มา Remove Background และปรับให้เป็น silhouette ตามลำดับ

คำถามชวนคิด

เทคนิคเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับรูปภาพในสไลด์ของคุณได้อย่างไร?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

รีวิวหนังสือ (น่าอ่าน): Storytelling with you
รู้ลึก vs รู้แค่ผิวๆ
5 เรื่องสำคัญ ในการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอ