"เดี๋ยวจัดประชุมระดมสมองเลยนะ"

"เพิ่ม Session สำหรับ Brainstorm ในการประชุมด้วยนะ"

"ไม่มีไอเดียใหม่ๆ เลย เดี๋ยวเรียกน้องๆ ในทีมมาระดมสมองกัน"

...

ว่าแต่...

ระดมสมองเสร็จแล้วยังไงต่อ?

การระดมสมองส่วนใหญ่มักจบด้วย post-it เต็มกำแพงหรือไวท์บอร์ด

แล้วต้องสรุปอย่างไร?

หรือแค่ถ่ายรูปแล้วก็เอาไปงมกันต่อเอง?

ยิ่งเรื่อง Design Thinking มาแรง ยิ่งต้องระดมสมองกันบ่อย

มาดูกันว่าระดมสมองเสร็จ แล้วทำยังไงต่อดี

(อย่าปล่อยให้ post-it ไปตายอยู่ในถังขยะอย่างเปล่าประโยชน์)

More...

Affinity Map

เครื่องมือนึงที่สามารถนำมาใช้ต่อจากการ Brainstorm คือ Affinity Map

หากแปลตาม Dictionary แล้ว Affinity หมายถึง ความเข้าใจที่คล้ายๆ กัน

ดังนั้น Affinity Map จึงเป็นการจับกลุ่มสิ่งที่คล้ายๆ กัน/สัมพันธ์กัน ให้อยู่ด้วยกัน

ขั้นตอนการใช้งาน

  1. 1
    กำหนดหัวข้อที่ต้องการระดมสมอง (แนะนำให้ใช้เป็นคำถาม)
  2. 2
    เริ่มการระดมสมอง (แนะนำให้ใช้ post-it)
  3. 3
    แปะ post-it บนกำแพง (หรือบนไวท์บอร์ด)
  4. 4
    Facilitator หรือผู้ระดมสมอง หรือทั้ง 2 ฝ่าย ช่วยกันจัดกลุ่มประเด็น โดยย้าย post-it ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมาไว้ใกล้ๆ กัน (หากมีประเด็นที่ซ้ำกัน ไม่ต้องเอาออก ให้ย้ายไปด้วยกันทั้งหมด)
  5. 5
    เมื่อจัดกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เข้าร่วมระดมสมองช่วยกันคิด "คำ" ที่ใช้แทน หรือ "ชื่อ" ของกลุ่มนั้น

ตัวอย่างการทำ Affinity Map แสดงไว้ในรูป A

การอ่านและใช้ประโยชน์จาก Affinity Map

หากเราระดมสมองแล้วไม่ได้เอาไปใช้ต่อก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นเมื่อเราเอาประเด็นต่างๆ มาจัดกลุ่ม (Affinity mapping) จะนำไปสู่ประเด็นหลักที่น่าจะตอบคำถามที่เราตั้งไว้ และแตกย่อยว่าประเด็นหลัก (ชื่อกลุ่ม) นั้นประกอบด้วยประเด็นย่อยๆ (post-it) อะไรบ้าง

ตัวอย่าง

(รูป A)

คำถาม คือ อุปสรรคในการอ่านหนังสือให้เข้าใจคืออะไร

เมื่อระดมสมองแล้ว แยก post-it ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 อ่านได้ไม่นาน คนอื่นชอบมาเรียก โทรศัพท์ดัง

กลุ่มที่ 2 อ่านแล้วไม่เข้าใจ เนื้อหายากเกินไป อ่านแล้วสับสน

เราจะตั้งชื่อกลุ่มที่ 1 ว่าสมาธิในการอ่าน และกลุ่มที่ 2 ว่าความเข้าใจในเนื้อหา 

เมื่อเราได้ 2 กลุ่มแล้ว เราสามารถนำไปขยายผล ตัวอย่างเช่น เอามาใช้ในการหาวิธีแก้ไขอุปสรรคที่พบทั้ง 2 กลุ่มต่อไป 

ข้อควรระวัง

  1. 1
    คุณภาพของการระดมสมอง ส่วนหนึ่งนั้นขึ้นกับ คุณภาพของคำถามตั้งต้น
  2. 2
    การจับกลุ่มต้องพิจารณาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องให้ดี (การจับกลุ่มทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับความสัมพันธ์ที่เลือก)

คำถามชวนคิด

เมื่อได้ประเด็นต่างๆ จากการระดมสมองแล้ว คุณทำอย่างไรต่อ?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
3 สิ่งควรทำ ไว้สู้ Office Syndrome
แนะนำ SlideShare แหล่งรวมสไลด์และความรู้