เมื่อสัปดาห์ก่อน 

อิงเชิญชวนทุกท่านให้เลือกทักษะที่ชอบและใช่

เพื่อพัฒนาตัวเองในปีนี้

แล้วนอกจากอ่านหนังสือ อ่าน blog ฟัง podcast หรือดู channel ต่างๆ 

มีวิธีอื่นอีกหรือเปล่า

มีแน่นอนค่ะ ยุคนี้ต้องเรียนออนไลน์ค่ะ 

หลายคนคงรู้จัก coursera และ edx ว่าเป็นแหล่งรวมคอร์สออนไลน์ฟรี

แล้วของไทยมีแบบนี้บ้างหรือเปล่า

คำตอบ คือ มีค่ะ อาจไม่ใหญ่และหลากหลายเท่า 

แต่ก็มีคอร์สเรียนน่าสนใจอยู่พอสมควรเลยค่ะ

มาดูกันค่ะ... ว่ามีอะไรบ้าง

More...

(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2564) 

#1 SET E-learning

URL: https://elearning.set.or.th

SET E-learning เป็นห้องเรียนออนไลน์ของ SET หรือ ตลาดหลักทรัพย์ ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ได้ฟรี (ไม่ต้องเป็นนักลงทุนก็เรียนได้ค่ะ) เพียงแค่ลงทะเบียนในระบบกับทาง SET 

ณ ตอนนี้ มีหลักสูตรอยู่ 7 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. 1
    การวางแผนการเงิน
  2. 2
    หลักการลงทุน
  3. 3
    การลงทุนในหุ้น
  4. 4
    การลงทุนในอนุพันธ์
  5. 5
    การลงทุนในกองทุนรวม
  6. 6
    การลงทุนในตราสารหนี้
  7. 7
    หลักสูตรผู้ประกอบการ

เห็นแบบนี้แล้วอย่าเพิ่งคิดว่าถ้าเราไม่ใช่นักลงทุน ก็ไม่น่าจะช่วยเพิ่มทักษะการทำงานของเราได้ แต่ที่จริงแล้วมีหลักสูตรพัฒนาทักษะซ่อนอยู่ใน "หลักสูตรผู้ประกอบการ" ค่ะ มีอยู่ทั้งหมด 17 คอร์ส แต่ละหลักสูตรก็น่าสนใจน่าเรียนทั้งนั้นเลยค่ะ เช่น Pitching Technique, Innovation Mindset, Design Thinking และ Digital Marketing เป็นต้น ดังแสดงในรูป A

จุดเด่นของ SET E-learning

  • วิทยากรมีชื่อเสียงในด้านนั้นๆ ถ้าคุณเคยท่องโลก Blog และ FB ด้านการพัฒนาทักษะและความรู้ คุณต้องผ่านตาวิทยากรหลายคนในหลักสูตรนี้แน่นอน
  • Production ของคลิป ผ่านการคิดมาแล้ว และมีการถ่ายทำที่ดี (โดยเฉพาะในส่วนของหลักสูตรผู้ประกอบการ) ในส่วนของหัวข้อด้านการลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นการอัดจากคอร์สสอนสดแต่มีการตัดต่อใส่กราฟฟิกหรือใส่สไลด์ให้เราเห็นภาพไปด้วย
  • หลักสูตรส่วนใหญ่มีเอกสารประกอบให้ดาวน์โหลด เพื่อดูไปด้วยเรียนไปด้วย
  • การทำ Graphic ประกอบ จัดว่างานดีค่ะ
  • User Interface (UI) ดูเรียบร้อย ใช้งานได้ง่าย
  • ลงทะเบียนเรียนเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอวันเปิดหลักสูตร
  • เรียนได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนดวันจบหลักสูตร
  • เรียนจบแล้วมี certificate ให้ด้วยจ้า

จุดด้อยของ SET E-learning

  • คอร์สสำหรับการพัฒนาทักษะอาจน้อยไปหน่อย (เมื่อเทียบกับคอร์สด้านการลงทุนที่เป็นเนื้อหาหลักของ SET E-learning)
  • เนื้อหาค่อนข้างสั้น ทำให้เรื่องส่วนใหญ่ที่นำมาสอน เป็นการแนะนำหลักการเบื้องต้น อาจยังไม่เจาะลึก หรือเป็นการนำหลักการนั้นๆ ไปประยุกต์ใช้

#2 CEA Online Academy

URL: https://academy.cea.or.th

CEA Online Academy เป็นห้องเรียนออนไลน์ที่ให้บริการโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) หรือ CEA ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ได้ฟรี โดยต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะเริ่มเรียนได้

ณ ตอนนี้ มีหลักสูตรอยู่ 7 หมวดหมู่ ได้แก่ 

  1. 1
    พัฒนาทักษะ
  2. 2
    พัฒนาธุรกิจ
  3. 3
    Design Thinking
  4. 4
    สร้างอาชีพ
  5. 5
    สร้างแบรนด์
  6. 6
    Creative Career 2020
  7. 7
    Trend

รวมมีคอร์สทั้งหมด 30 รายการ ให้เลือกเรียนกันตามใจชอบ ลักษณะเนื้อหามีทั้งในรูปแบบคอร์สออนไลน์ การสัมภาษณ์ และกึ่งสารคดี โดยจะมีเวลาในการเรียนกำกับไว้ในแต่ละคอร์ส เพื่อให้เราใช้ประกอบการตัดสินใจลงทะเบียนด้วยค่ะ ดังแสดงตัวอย่างในรูป B

จุดเด่นของ CEA Online Academy

  • เครือข่ายความร่วมมือของ CEA เป็นสื่อมืออาชีพที่หลากหลาย มาช่วยกันทำหลักสูตร ที่อิงได้ลองเรียนไป คือ คอร์ส Podcast ที่ทาง The Standard มาถ่ายทอดความรู้ให้ กับคอร์สการทำคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ ที่ทาง The Matters มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ 
  • เนื้อหาเน้นการทำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เหมาะกับคนรุ่นใหม่
  • Production ของคลิป ผ่านการคิดมาแล้ว และมีการถ่ายทำที่ดี 
  • User Interface (UI) ดูเรียบร้อย ใช้งานได้ง่าย
  • ลงทะเบียนเรียนเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอวันเปิดหลักสูตร
  • เรียนได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนดวันจบหลักสูตร
  • เรียนจบแล้วมี certificate ให้ด้วยจ้า

จุดด้อยของ CEA Online Academy

  • เนื้อหาในบางตอนยาวมากประมาณ 30 นาที ทำให้ต้องใช้เวลาในการดูกันยาวๆ บางครั้งเมื่อ pause ไว้แล้วไม่ได้ดูนานๆ ต้องมาเปิดย้อนไปใหม่ เพราะจำไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้พูดเรื่องอะไรอยู่ เลยดูซ้ำไปซ้ำมา ไม่ค่อยก้าวหน้าไปไหน

#3 ตระกูล MOOC ต่างๆ 

คอร์สออนไลน์ประเภทนี้มักจัดทำโดยมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานด้านการศึกษา เช่น ThaiMOOC และ ChulaMOOC เป็นต้น ตัวอย่างเช่นในรูป C

จุดเด่นของตระกูล MOOC ต่างๆ

  • เนื้อหาหลากหลายมาก บางหลักสูตรไม่คิดว่าจะมีสอนออนไลน์ เช่น นาฏยกรรมสยาม ตอน ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง และความรู้เรื่องดวงตาสำหรับประชาชน เป็นต้น 
  • ส่วนใหญ่สอนโดย อาจารย์มหาวิทยาลัย ความรู้แน่น

จุดด้อยของตระกูล MOOC ต่างๆ

  • บางหลักสูตรมีระยะเวลาการสมัคร (ไม่สามารถเข้าได้หลังปิดรับหรือคนเต็ม)
  • มีเวลาจำกัดในการเรียน
  • Production หลากหลาย ขึ้นกับคณะและมหาวิทยาลัยที่จัดทำ
  • เนื้อหาหนักไปทางวิชาการมากกว่าภาคปฏิบัติ

#4 Academy เฉพาะกิจ โดยหน่วยงานราชการ

คอร์สเรียนออนไลน์ลักษณะนี้จัดทำโดยหน่วยงานราชการเป็นแบบเฉพาะกิจตามเงินงบประมาณปีนั้นๆ เช่น Academy ต่างๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาก็จะขึ้นกับข้อกำหนดงาน (ToR) ว่าปีนั้นๆ เน้นเรื่องอะไร ตัวอย่างเช่นในรูป D

ถึงแม้ว่าจะเป็น Academy เฉพาะกิจ ส่วนใหญ่แล้วมักเปิดให้กับบุคคลทั่วไปลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (แต่ขั้นตอนการลงทะเบียนอาจยุ่งยากนิดนึงค่ะ ไม่ง่ายเหมือนของ SET และ CEA) 

จุดเด่นของ Academy เฉพาะกิจ โดยหน่วยงานราชการ

  • เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงและลงรายละเอียดมากกว่าคอร์สแบบอื่น
  • เน้นการนำไปใช้งานจริง

จุดด้อยของ Academy เฉพาะกิจ โดยหน่วยงานราชการ

  • การลงทะเบียนบางคอร์สค่อนข้างยุ่งยาก
  • มีเวลาจำกัดในการเรียน พอพ้นปีงบประมาณ Academy นั้นๆ อาจหายไปเฉยๆ
  • Production ขึ้นกับบริษัทที่มารับงาน
  • เนื่องจากบางบริษัทไม่เข้าใจหลักการออกแบบคอร์สออนไลน์ เลยใส่คลิปละ 1 ชั่วโมงเศษมาให้ดู แทนที่จะเป็นคลิปสั้นๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้

จะเห็นว่ามีคอร์สฟรีหลากหลายสไตล์และความรู้ให้เราเลือกเรียนได้เพียบเลยค่ะ ระหว่างรอคอร์สเรียนออนไลน์ของ Skilldee  ก็สามารถเรียนคอร์สฟรีเหล่านี้ไปพรางๆ ก่อนได้ค่ะ อย่าลืมไปลงทะเบียนเรียนนะคะ อิงหวังว่าปีนี้ทุกคนจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ไปด้วยกันอย่างมุ่งมั่นค่ะ

คำถามชวนคิด

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะลงเรียนคอร์สไหนดี?

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
3 สิ่งควรทำ ไว้สู้ Office Syndrome
แนะนำ SlideShare แหล่งรวมสไลด์และความรู้