เมื่อช่วงต้นปี อิงได้กลับไปเป็นผู้เรียน

โดยจัดไปเต็ม 3 วัน สำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรการตรวจประเมินหลักสูตรหนึ่ง

เนื้อหาดีค่ะ 

แต่วิธีการนำเสนอและการออกแบบการเรียนรู้

... น่าจะปรับปรุงได้

การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้

อิงเชื่อเสนอว่า หากเราออกแบบมาดี...

จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้เรียนและสมความตั้งใจของผู้สอน

เลยคิดว่าบันทึกไว้ในโพสต์...

เผื่อใครกำลังจะออกแบบการฝึกอบรมจะได้นำไปประยุกต์ใช้กันได้ค่ะ

More...

ข้อมูลการฝึกอบรม

การฝึกอบรมนี้เน้นเนื้อหาด้านเทคนิค และเกณฑ์การตรวจประเมิน โดยจะมีการสอบในวันสุดท้ายด้วย 

การฝึกอบรมจัดติดต่อกัน 3 วัน (เช้า - บ่าย) มีวิทยากร 5 ท่าน มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม (ทำงานแล้วหลายปี ถึง หลายปีมาก) ปรมาณ 30-35 คน (มีเข้าๆ ออกๆ สลับกันหายไปบ้าง)

รูปแบบการฝึกอบรม

วันที่ 1 เป็นการสื่อสารทางเดียว คือ การบรรยายโดยวิทยากร มีการเปิดให้ซักถามในตอนท้ายแต่ละการบรรยาย มีการยกตัวอย่างที่หลากหลายและจำนวนมากพอสมควร แต่เป็นการอ่านให้ฟังพร้อมอธิบายเพิ่มเติมนิดหน่อย  บางช่วงมีเนื้อหาแน่นมาก เพราะเป็นการพูดถึงข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมากหลายสิบข้อ 

วันที่ 2 ยังคงเป็นการสื่อสารทางเดียว โดยเอาสไลด์การคำนวณมาอธิบายเพิ่ม แต่ไม่มีการให้ทำแบบฝึกหัด

วันที่ 3 เน้นการบรรยาย มี workshop จำนวน 1 ครั้ง เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยให้ลองประเมินตามกรณีศึกษาและตอบคำถามประมาณ 4-5 ข้อ

ข้อคิดเห็นส่วนตัว (สำหรับปรับปรุงการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพขึ้น)

  • ให้ผู้เข้าร่วมอบรมอ่านเนื้อหามาบางส่วน: เวลาในการฝึกอบรมมีจำกัด เนื้อหาบางส่วนสามารถให้ผู้เข้าร่วมอบรมอ่านและทำความเข้าใจมาก่อนได้ เพื่อลดเวลาในการบรรยายลง
  • ลดระยะเวลาในการบรรยาย: เวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลาที่มีค่า เพราะวิทยากรและผู้ฝึกอบรมได้เจอหน้ากัน ควรใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลองทำไปด้วยกัน พูดคุยและถามคำถามกันมากกว่า
  • ใช้การพูดคุยและถามคำถาม: การให้ผู้เรียนพูดคุยและมีส่วนร่วมในการถามคำถาม เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาและคลายข้อสงสัยในใจได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้เรียนรู้มุมมองอื่นๆ จากคำถามที่ผู้อื่นถามอีกด้วย
  • ใส่แบบฝึกหัดเข้ามาเป็นระยะ: การฝึกอบรม โดยเฉพาะการฝึกอบรมที่เน้นการสร้างทักษะ ควรอย่างยิ่งที่จะมีการทำแบบฝึกหัดเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนสามารถทำสิ่งนั้นด้วยตัวเองได้จริง รวมทั้งเป็นการทดสอบความเข้าใจและเป็นโอกาสในการอธิบายเพิ่มเติมด้วย
  • ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย: การอธิบายด้วยสไลด์อาจจะง่ายและประหยัดเวลา แต่บางครั้งการคำนวณหรือการสร้างความเข้าใจด้วยภาพ หากเป็นการทำไปด้วยกันทีละขั้น (หรือวาดไดอะแกรมให้ดู) จะช่วยสร้างความเข้าใจได้ดีกว่า ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่ช่วยให้เราเขียนบน Tablet แล้วมาแสดงบนคอมพิวเตอร์ เพื่อฉายออก projector ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนบน flipchart หรือกระดานเล็กๆ หน้าห้องที่คนอ่านไม่เห็น

คำถามชวนคิด

การฝึกอบรมครั้งล่าสุดของคุณเป็นอย่างไร มีอะไรที่ปรับปรุงเพิ่มได้บ้าง

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked

{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}

โพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

เรียนออนไลน์แบบไหนเหมาะกับตัวเรา?
3 สิ่งควรทำ ไว้สู้ Office Syndrome
แนะนำ SlideShare แหล่งรวมสไลด์และความรู้